อาการของโรคกระดูกพรุน

          ส่วนใหญ่โรคนี้มักจะไม่มีอาการแสดง ยกเว้นเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้กระดูกหักได้ง่ายถ้าไม่ระวังให้มาก และหากเกิดภาวะกระดูกหักแล้วก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น ปวดข้อมือ สะโพก หรือหลัง เนื่องจากกระดูกข้อมือ สะโพก หรือสันหลังเกิดแตกหัก หรือถ้าเป็นโรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิก็อาจมีอาการแสดงของโรคที่สาเหตุดังกล่าว

          ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักจะทราบว่าตนป่วยเมื่อมีอาการแสดงไปแล้ว มีความเสี่ยงต่อการมีกระดูกหักได้ง่ายแม้จะเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงหรือมีแรงกระแทกต่ำ เช่น กระดูกหักจากการเปลี่ยนท่ายืนหรือนั่ง, กระดูกหักขณะก้มหยิบของหรือยกของหนัก, กระดูกซี่โครงหักเพียงแค่ไอหรือจาม, กระดูกข้อมือหักจากการใช้มือยันตัวเอาไว้จากการลื่นหรือหกล้ม, กระดูกสะโพกหักจากก้นกระแทกกับพื้น เป็นต้น และยังมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจสังเกตอาการเพื่อให้สามารถรักษาได้ทันการณ์ คือ ปวดหลังเรื้อรัง หลังงอ ความสูงลดลง

 

กลับขึ้นด้านบน

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Faculty of Allied Health Sciences