การใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับจักษุกรรม แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาในทางจักษุวิทยา การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางจักษุสาธารณสุข การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการให้ความรู้ และการเรียนการสอน ในที่นี้จะขอกล่าวในข้อที่ 1
การใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับจักษุกรรม แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
การใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับจักษุกรรม
การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาในทางจักษุวิทยา ตัวอย่างของเครื่องมือที่ใช้ในทางจักษุวิทยา
กระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา (Cornea and Refractive surgery)
Phacoemulsification เป็นการใช้เทคโนโลยีโดยการนำคลื่นเสียงความถี่สูงมาใช้ในการผ่าตัดสลายต้อกระจกโดยสามารถทำการผ่าตัดเปิดผ่านแผลเล็กๆ ที่กระจกเพียง 2-3 มิลลิเมตร ใช้เวลาในการผ่าตัดสั้นลง ทำให้หลังผ่าตัดผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำการเย็บแผลมีภาวะสายตาเอียงจากการผ่าตัดลดลง
Intraocular lens (IOL) หรือเลนส์แก้วตาเทียม ปัจจุบันสามารถผลิตเลนส์แก้วตาเทียมที่สามารถพับได้ โดยจักษุแพทย์จะทำการใส่เลนส์แก้วตาเทียมนี้ผ่านแผลเล็กๆ และเข้าไปขยายภายในลูกตาหลังจากการทำการสลายด้วยวิธี Phacoemulsification ทำให้ไม่จำเป็นต้องเย็บแผลที่กระจกตา เลนส์แก้วตาเทียมสามารถรักษาภาวะต้อกระจกและค่าภาวะสายตาผิดปกติได้ด้วย
LASIK การผ่าตัดแก้ไขค่าสายตาโดยใช้เลเซอร์ โดยจักษุแพทย์ การใช้ใบมีดขนาดเล็ก หรือว่าแสงเลเซอร์ชนิดพิเศษเพื่อทำการแยกชั้นของกระจกตาออกมาเป็นฝาก่อนจะทำ LASER ที่มีความยาวคลื่นที่มีคุณสมบัติพิเศษในการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตายิงเพื่อทำการแก้ไขสายตายาว สั้น หรือเอียงของผู้ป่วย และทำการปิดฝาของกระจกตาที่แยกชั้นไว้ในตอนแรกกลับเข้าไปโดยไม่ต้องทำการเย็บแผล
เครื่องตรวจความโค้งของกระจกตา Corneal topography เหมาะสำหรับผู้มีภาวะสายตาเอียงชนิดซับซ้อน โดยเทคโนโลยีการตรวจหาความโค้งของกระจกตาโดยใช้กล้องถ่ายภาพชนิดพิเศษจับภาพสะท้อนจากกระจกตาแล้วประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Wave-front analysis
Femtosecond LASER เป็นเทคโนโลยีเลเซอร์ที่มีความสามารถในการแยกชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆได้อย่างแม่นยำในระดับไมครอน ใช้ในทางจักษุกรรมได้หลากหลาย
Confocal microscopy เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเรืองแสง(Fluorescence) เลนส์ กระจก การตัดแสงสะท้อน และเลเซอร์เข้าด้วยกัน โดยอุปกรณืชิ้นนี้ทำหน้าที่เสมือนกล้องจุลทรรศน์ที่สามารถถ่ายภาพขยายของกระจกตาแยกชั้นได้ ทำให้เห็นการเรียงตัวของเซลล์กระจกตา ความผิดปกติ เชื่อโรคหรือพยาธิเล็กๆ ในกระจกตาชั้นต่างๆได้ โดยภาพขยายมีความคมชัด
http://www.visionavigaid.com/index.php?page_name=phacoemulsification&page_id=1198 https://www.saga.co.uk/magazine/health-wellbeing/surgery/cataract-surgery https://biology.stackexchange.com/questions/35437/what-happens-in-lasik-operation http://eyehealthconsultants.com/how-we-help-you/hi-tech-eye-diagnostics/17-hi-tech-eye-diagnostics/110-computer-assisted-corneal-topography.html https://www.slideshare.net/ADFIII/2011-feb-26history-of-femtosecond-lasers-in-ophthalmology-flores https://www.reading.ac.uk/icmr/facilities/cci/icmr-confocal.aspx
กลับหน้าหลัก
อ้างอิงข้อมูล