องค์ประกอบของตา
https://sites.google.com/site/thehumanit8/the-human/input-output-channel?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
|
- ตาเป็นรูปทรงกลม ในทารกแรกคลอดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 มิลลิเมตร ส่วนในผู้ใหญ่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 24 มิลลิเมตร ลูกตาลอยอยู่บนไขมันในเบ้าตา กระดูกหน้าป้องกันตาจากการกระแทกกระดูกพื้นล่างของเบ้าตาเป็นส่วนที่บางที่สุด เวลาที่โดนชกพื้นของเบ้าตาจะแตกหักก่อน (ORBITAL FLOOR FRACTURE) ทำให้ลูกตาเคลื่อนลงข้างล่าง ทำให้เห็นภาพเป็นสองภาพซ้อนกัน
- ซึ่งลูกตาประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก
|
1.ส่วนหน้าของลูกตา (anterior eye segment)
- เยื่อตา (Conjunctiva)
ทำหน้าที่หล่อลื่นดวงตา สร้างน้ำตาปกติและ นำเส้นเลือดมาเลี้ยงขอบนอกของลูกตา
- Tenon’s capsule
- กระจกตา(Cornea), Limbus, และมุมตา (Filtration angle)
กระจกตามีลักษณะใสอยู่ด้านหน้าของลูกตา มีหน้าที่หักเหแสงให้ตกลงบนจอประสาทตา
- ตาขาว (Sclera)
- ม่านตา (Iris)
ม่านตาเป็นเนื้อเยื่อที่มีเซลล์เม็ดสี และมีกล้ามเนื้อหูรูดที่ทำให้กล้ามเนื้อม่านตาหดขยาย เพื่อให้รูม่านตาเปิดกว้างหรือแคบลง ขึ้นอยู่กับความสว่างที่เข้าสู่ตา
- แก้วตา (Lens)
ทำหน้าที่โฟกัสแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาและเปลี่ยนโฟกัสให้มองใกล้ไกลชัดเจนตามต้องการ
|
2. ส่วนหลังของลูกตา (posterior segment)
- Ciliary body
- วุ้นตา (Vitreous)
มีหน้าที่ให้แสงผ่าน และให้ลูกตาคงรูปอยู่ได้
- Choroid
- จอตา (Retina)
ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชั้น จุดแต่ละจุดในประสาทตาจะส่งภาพไปยังที่สมองผ่านเส้นประสาทตา
- ขั้วประสาทตา (Optic disc)
- กล้ามเนื้อตา
กล้ามเนื้อตาจะควบคุมลูกตา มีจำนวน 6 มัด ทำให้สามารถกลอกตาได้ทุกทิศทาง และตาทั้งสองข้างทำงานด้วยกันได้ ถ้ากล้ามเนื้อตามัดใดมัดหนึ่งเกิดความเสียหายจะให้ตาเขและเห็นภาพซ้อน
- หนังตา
ประกอบด้วย ผิวหนัง ขนตา กล้ามเนื้อหูรูดเพื่อปิดตา กล้ามเนื้อเปิดตา ต่อมน้ำมัน และด้านในบุด้วยเยื่อตา หนังตามีหน้าที่ปิดเปิดตาป้องกันอันตรายต่อลูกตา รีดน้ำตาไปเคลือบกระจกตาเพื่อให้เรามองเห็นได้ดี และสร้างน้ำมันเคลือบตาเพื่อลดการระเหยของน้ำตา
|
กลับหน้าหลัก
อ้างอิงข้อมูล
- ทีมจักษุแพทย์ โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน. (2547). รอบรู้เรื่องตา. กรุงเทพ. เรือนปัญญา.
- เปรมจิต เศาญานนท์และคณะ. (2559). จักษุจุฬา. กรุงเทพ. ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
|