Welcome To Sudarat Website

 

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ กระบวนการทางการแพทย์เพื่อที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยจะต้องต้องมีการเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิง (เซลล์ไข่) ออกมาจากร่างกาย จากนั้นอาจจะนำกลับเข้าสู่ร่างกายและเกิดการปฏิสนธิในร่างกาย เช่น GIFT; gametes intrafallopian transfer หรือทำให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายแล้วจึงทำการย้ายไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (zygote) หรือตัวอ่อนกลับเข้าสู่ร่างกาย เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF-ET; in vitro fertilization and embryo transfer), ZIFT; zygote intrafallopian transfer เป็นต้น(1) โดยความสำเร็จครั้งแรกของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นั้นเริ่มต้นจากเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (In vitro fertilization; IVF) โดยเด็กหลอดแก้วรายแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในโลก คือ Louise Joy Brown เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2521 ที่ประเทศอังกฤษ เป็นผลงานของ Dr. Patrick Steptoe และ Dr. Robert Edward โดยการเก็บไข่จากรอบเดือนธรรมชาติที่ไม่ได้มีการกระตุ้นไข่ นำมาทำการปฏิสนธินอกร่างกาย แล้วย้ายตัวอ่อนที่ได้กลับคืนเข้าสู่โพรงมดลูก(2) หลังจากนั้นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ก็มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้มีทารกที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นี้ในโลกนี้มากกว่า 1 ล้านคน และในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีทารกที่เกิดกระบวนการนี้คลอด 1 รายในทุก 200 รายของทารกที่คลอด ส่วนในประเทศไทยเด็กหลอดแก้วรายแรกรายงานเป็นครั้งแรกที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ โดย ศ.นพ.ประมวล วีรุตเสนและคณะ เมื่อปี พ.ศ.2530 สำหรับเด็กหลอดแก้วรายแรกของภาคเหนือซึ่งเป็นผลงานของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ถือกำเนิดที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2535 เป็นทารกเพศชาย น้ำหนัก 3,680 กรัม

 

 

อ้างอิงจาก

http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=398:assisted-reproductive-technology&catid=40&Itemid=482