อาการ
ผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั้น จะแสดงอาการออกมาได้ 3 แบบ ดังนี้
1. อาการที่เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ ซึ่งเรียกว่า กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย หรือ SIRS ดังกล่าว ซึ่งจะมีอาการและอาการแสดงอย่างน้อย 2 อย่างขึ้นไป ได้แก่
มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส
หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที
หายใจเร็วมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือวัดค่าความดันคาร์บอน ไดออกไซด์ในเลือดได้มากกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท
การตรวจเลือด พบมีเม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 ตัวต่อมิลลิลิตร หรือน้อยกว่า 4,000 ตัวต่อมิลลิลริต อากการที่เกิดจาก SIRS ไม่จำเป็นต้องเกิดจากกาติดเชื้อเท่านั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆก็ได้ เช่น จากการเกิดตับอ่อนอักเสบ จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือจากมีแผลไฟไหม้ที่รุนแรง แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าอาการของ SIRS นี้สาเหตุมาจากการติดเชื้อ ก็จะเรียกว่าผู้ป่วยมีภาวะพิษเหตุติดเชื้อและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั่นเอง
2. อาการแสดงที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากเชื้อโรค หรือพิษของเชื้อโรคกระจายมาตามกระแสเลือด และเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดรอยโรคขึ้นที่ผิวหนังทั่วตัว รอยโรคนี้ บางอย่างมีลักษณะที่ไม่จำเพาะ คือเป็นตุ่มหนองธรรมดา ซึ่งเกิดได้จากเชื้อหลายชนิด แต่มีรอยโรคบางอย่างที่มีลักษณะจำเพาะ สามารถบอกถึงชนิดเชื้อที่เป็นสาเหตุได้ เช่น ผื่นชนิดเรียบเป็นจุด หรือปื้นแดงเล็กๆซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Neisseria meningitidis หากเป็นผื่นชนิดตุ่มน้ำ และมีเลือดออก ประกอบกับมีประวัติว่าไปกินหอยนางรมดิบมา ก็มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Vibrio vulnificus หรือหากผิวหนังทั่วตัวกลายเป็นสีแดง ก็มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Staphy lococcus aureus หรือ Streptococcus pyogenes
3. อาการเฉพาะที่ หรือเฉพาะอวัยวะที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยต้องมีอาการที่บ่งว่ากำลังมีการติดเชื้อที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เช่น
หากมีอาการไอ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ แพทย์ฟังปอดแล้วพบเสียงผิดปกติ ก็แปล ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ปอด หรือที่เยื่อหุ้มปอด
หากผู้ป่วยปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมีการติดเชื้อที่กรวยไต
หรือหากมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวหรือท้องเสีย อาจเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้ เป็นต้น
ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน อาจไม่มีอาการ หรืออาจแสดงอาการไม่ชัดเจน ในกรณีนี้ ต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยพิสูจน์การติดเชื้อในอวัยวะที่สงสัย เช่น การตรวจย้อม และ/หรือเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่งของอวัยวะนั้นๆ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล :
http://haamor.com/th
https://www.healthline.com/health/septicemia#diagnosis5
|