การป้องกัน

การดูแลตนเองและการป้องกันภาวะพิษเหตุติดเชื้อและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คือ

 

1. ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนี้มักเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลซึ่งมารักษาตัวด้วยโรคอื่นๆ ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความจำเป็นในการทำหัตถการต่างๆที่อาจเป็นปัจจัยนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น

- การสอดใส่ท่อเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้สารน้ำ

- การใส่สายสวนปัสสาวะ


นอกจากนี้แพทย์จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับโรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยกำลังเป็น และให้ในระยะเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้หลายๆชนิด โดย เฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เชื้อราประจำถิ่นในลำไส้ แบ่งตัวเจริญเติบ โตและลุกลามเข้าสูร่างกาย จนทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดขึ้น มาได้

 

2. ในกรณีต้องการซื้อยาปฏิชีวนะกินเองเมื่อเกิดการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบ โรคอุจจาระร่วง/ท้องเสีย 

ควรเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับโรค โดยปรึกษากับเภสัชกรที่ประจำร้านขายยาก่อนใช้ ไม่ควรเริ่มใช้ยาที่ประสิทธิภาพสูงเกินไป เพราะเหตุผลเช่นที่กล่าวมาแล้ว และหากยาที่ซื้อกินเองครั้งแรกไม่ได้ผล ก็ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล

 

3. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆเช่นที่กล่าวไว้ในข้างต้น หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคอยู่ ควรระมัดระวังการติดเชื้อโดย การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่ง ชาติ) อย่างเคร่งครัด เช่น

- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด

- กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ

- ล้างมือก่อนหยิบจับอาหาร

- ส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ

- กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร

นอกจากนั้นคือ กินยาตามแพทย์สั่งให้ถูกต้องครบ ถ้วน และควรพบแพทย์ตามนัดเสมอ

ที่มาของข้อมูล :

http://haamor.com/th

https://www.healthline.com/health/septicemia#diagnosis5

Home

or

Back to Top