การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีนที่ควบคุมการสร้างวัตถุ รับสีชนิดสีแดง และสีเขียวนั้น (red-pigment gene, green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้ สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติแน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป
ตาบอดสีที่พูดถึงส่วนใหญ่เป็นตาบอดสีที่เป็นมาแต่กำเนิด และถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม X
เพศชาย จะมีโครโมโซมเป็น XY คือมี X 1 หน่วย
เพศหญิง จะมีโครโมโซมเป็น XX ซึ่งมี X 1 หน่วย
ตอน ที่เราออกมาเป็น เบบี๋ จะได้โครโมโซมจากพ่อ กับ แม่มาอย่างละครึ่ง ดังนั้น เพศชายก็จะได้ X จากแม่ และ Y จากพ่อ ส่วน เพศหญิงก็จะได้ X จาก พ่อ กับแม่ อย่างละตัว เป็นที่น่าสงสารอย่างยิ่งที่ โครโมโซม Y นั้น มีขนาดเล็กกว่า โครโมโซม X จึงไม่สามารถที่จะ control ลักษณะ ทางพันธุกรรมบางอย่างที่จะถ่ายทอดมาทางโครโมโซม X ได้ เช่น หัวล้าน และตาบอดสีทำให้เพศชายถ้ามีหน่วยพันธุกรรม X ที่ทำให้เกิดตาบอดสีก็จะแสดงอาการของตาบอดสีออกมา ในขณะที่เพศหญิงถ้าหน่วย X นี้ผิดปกติเพียงหนึ่งหน่วย ก็ยังสามารถมองเห็นได้ปกติ ถ้าหน่วย X อีกตัวหนึ่งไม่ทำให้เกิดตาบอดสี เรื่องราวของพันธุศาสตร์ หลายๆ ท่านอาจงงๆ ไม่เข้าใจ สรุปว่า เป็นเพราะพันธุกรรม เพราะเหตุนี้ตาบอดสีจึงพบในเพศหญิงน้อยกว่าเพศชาย ประมาณ 16 เท่า คือ ประมาณ 0.4% ของประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมด จะพบ 10% ของประชากรและเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณ 5% ของประชากร
ตาบอดสีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ตาบอดสีที่เป็นภายหลัง มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือโรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควรจะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้
แหล่งอ้างอิง: https://www.pobpad.com/ตาบอดสี
|