โรคซีสต์ถุงน้ำรังไข่

ซีสต์ (Cyst)

คือถุงน้ำที่เกิดขึ้นบนเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีลักษณะคล้ายถุงหรือเม็ดแคปซูลที่อยู่ติดกัน โดยภายในซีสต์มักบรรจุของเหลว ของแข็งกึ่งของเหลว หรืออากาศไว้ โดยมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และมักค่อย ๆ ขึ้น ซีสต์ที่ขึ้นบนผิวหนังจะมีลักษณะนูน ส่วนซีสต์ที่ขึ้นใต้ผิวหนังอาจจะคลำได้เป็นก้อน และซีสต์ที่ขึ้นที่อวัยวะภายใน อาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่ามีซีสต์ขึ้นมาภายในร่างกายตัวเอง

ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst/Adnexal Cysts) 

คือของเหลวที่สะสมอยู่ภายในหรือบนพื้นผิวของรังไข่ โดยถุงน้ำรังไข่มีหลายประเภท ที่พบได้ทั่วไปคือถุงน้ำรังไข่ธรรมดา (Functional Cyst) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

อาการ

ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst) ถุงน้ำที่รังไข่ไม่ก่อให้เกิดอาการใดและจะหายไปเอง แต่หากถุงน้ำรังไข่มีขนาดใหญ่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายท้อง บางรายอาจต้องการปัสสาวะบ่อย เพราะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะมีประสิทธิภาพลดลงจากการถูกซีสต์เบียด ทั้งนี้ ผู้ป่วยถุงน้ำรังไข่จะเกิดอาการปวดบริเวณเชิงกรานไปจนถึงหลังส่วนล่างและต้นขา และปวดก่อนช่วงเริ่มและหมดประจำเดือน รวมทั้งเจ็บเชิงกรานขณะสอดใส่เมื่อมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีอาการหน่วงท้อง คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

สาเหตุ

ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst/Adnexal Cysts) ส่วนใหญ่แล้ว ถุงน้ำรังไข่มักเกิดขึ้นเมื่อมีรอบเดือนซึ่งเรียกถุงน้ำนี้ว่าถุงน้ำรังไข่ธรรมดา (Functional Cysts) โดยรังไข่จะสร้างถุงน้ำขึ้นมาเพื่อรองรับการตกไข่ในแต่ละเดือน ถุงน้ำนี้เรียกว่าฟอลลิเคิล (Follicle) เมื่อร่างกายถึงช่วงตกไข่ ถุงน้ำจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน รวมทั้งปล่อยไข่ออกมา ทั้งนี้ ถุงน้ำจะมีขนาดโตขึ้นในแต่ละเดือนเป็นบางครั้ง ถุงน้ำรังไข่ธรรมดาไม่เป็นอันตรายใด ๆ อาจเกิดอาการเจ็บปวดบ้าง แต่ถุงน้ำจะหายไปเอง  อย่างไรก็ตาม ยังมีซีสต์รังไข่บางขนิดที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการมีรอบเดือน ดังนี้
ถุงน้ำรังไข่เดอร์มอยด์ (Dermoid Cysts) เดอร์มอยด์ซีสต์เกิดจากเซลล์ที่ผลิตไข่ ภายในถุงน้ำบรรจุเนื้อเยื่อ เช่น เส้นขน ผิวหนัง หรือฟัน
ถุงน้ำเนื้องอกซีสตาดีโนมา (Cystadenomas) ซีสต์ชนิดนี้เกิดจากเนื้อเยื่อรังไข่ โดยภายในถุงน้ำจะบรรจุของเหลวหรือเมือก
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriomas) เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นภายนอกมดลูก ทำให้เนื้อเยื่ออาจไปเกาะตรงรังไข่และเจริญขึ้นมากลายเป็นซีสต์
ถุงน้ำรังไข่เดอร์มอยด์และถุงน้ำเนื้องอกซีสตาดีโนมาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งไปเบียดรังไข่ให้หลุดไปจากตำแหน่งเดิมที่เคยยึดอยู่กับอุ้งเชิงกราน ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงเกิดภาวะรังไข่บิดขั้ว (Ovarian Torsion)

การป้องกัน

ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst) แม้ว่าจะไม่ปรากฏวิธีป้องกันถุงน้ำรังไข่ที่แน่ชัด แต่การตรวจเชิงกรานเป็นประจำจะสามารถช่วยให้วินิจฉัยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับรังไข่ได้ทันการ นอกจากนี้ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อมีรอบเดือนอยู่เสมอ แล้วพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับคำแนะนำในการรักษา

การรักษา

การรักษาซีสต์ขึ้นอยู่กับอาการและชนิดของซีสต์ที่ผู้ป่วยเป็น โดยแพทย์ที่ทำการรักษาซีสต์แต่ละชนิดนั้นจะเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับบริเวณที่เกิดซีสต์แตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี หากพบว่าตัวเองมีซีสต์ขึ้น
ในอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ผู้ป่วยมักพบแพทย์เวชศาสตร์ทางครอบครัว (Primary-Care Doctor) หรือแพทย์ทั่วไปก่อนเพื่อรับการปรึกษา เพราะซีสต์บางชนิดไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น ผู้ที่มีซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง และไม่เกิดอาการอื่นใดร่วมด้วย ไม่ต้องได้รับการรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีซีสต์ขึ้นบนอวัยวะส่วนอื่นอาจต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปตามอาการของโรค เช่น เจาะเอาของเหลวหรือสารที่อยู่ภายในซีสต์ออก ฉีดยาหรือรับการให้ยาเพื่อลดอาการเนื้องอกของซีสต์ หรือผ่าตัดเอาซีสต์ออก
การรักษาซีสต์ด้วยวิธีทางการแพทย์แต่ละวิธีนั้นประกอบด้วยแพทย์เฉพาะทางหลายประเภท เช่น สูตินารีแพทย์ ศัลยแพทย์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษากระดูกและข้อ เอ็นยึดกระดูก และกล้ามเนื้อและเส้นประสาท) แพทย์โรคทางเดินอาหาร แพทย์หู คอ จมูก แพทย์ผิวหนัง หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอก เป็นต้น

 

อ้างอิงจากเว็บไซต์: www.phyathai.com/article_detail.php?id=1596

Back on top


 

 

โรคเกี่ยวกับผู้หญิงและสุขภาพ

หน้าแรก โรคซีสต์ถุงน้ำรังไข่ โรคเชื้อราในช่องคลอด การปวดประจำเดือน แนะนำผู้จัดทำเว็บไซต์
โรคซีสต์ถุงน้ำรังไข่