สาเหตุของโรค
|
ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอนของโรคลำไส้แปรปรวน เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่
- เกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคน
- เกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ
- มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียด กล่าวคือภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเอง
- ภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไป โดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่
อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
- มีตัวกระตุ้นสมองให้หลั่งสารบางชนิด เช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ร่วมกับอาการท้องเสีย เช่น ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ เช่น ความเครียด
- สมองทำงานแปรปรวน จึงส่งผลต่อการแปรปรวนของลำไส้ อาจจากการทำงาน หรือมีปริมาณแบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora แบคทีเรียที่มีประ จำในลำไส้ มีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรค ช่วยการดูดซึมและสร้างวิตามินเกลือแร่บางชนิด) ในลำไส้ผิดปกติ
- IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น "visceral hyperalgesia") ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น
|
อาการของโรค
|
IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิง
มากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้
- ปวดท้อง - มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน
- มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) - ถือเป็นลักษณะพิเศษ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโรคนี้เลย ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)
- ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation) ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบว่ามีมูกเวลาถ่าย ได้ด้วย การท้องเสียหลังเข้านอนหลับสนิทแล้วพบน้อยมาก ๆ ถ้ามีการปลุกตื่นอยากถ่ายอย่างนี้ ควรหาสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ก่อน
- ท้องผูก - อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย
- อาการลำไส้อื่น ๆ - เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย
- อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ - เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ
|
ความรุนแรงของโรค
และผลข้างเคียง
|
โดยทั่วไป โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคไม่รุนแรง ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง และเกี่ยวข้องกับการขับถ่าย จึงมักส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โรคลำไส้แปรปรวน มักไม่มีผลข้างเคียงแทรกซ้อน และไม่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (โรคมะเร็งลำไส้)
|