ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีแหล่งอารยธรรมมาอย่างยาวนาน 5,000 ปี ตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนมา ถึงยุคประวัติศาสตร์ที่เริ่มก่อตั้งชุมชนถิ่นฐาน มีผู้ปกครองที่สืบสายโลหิตกันเป็นรุ่นต่อรุ่น หรือที่เรียกว่าราชวงศ์  โดยยุคราชวงศ์ แบ่งเป็น 2 ยุค คือยุคราชวงศ์โบราณ กับยุคราชวงศ์จักรวรรดิ ซึ่งในประวัติศาสตร์จีนมีราชวงศ ์ที่ปกครองประเทศทั้งสิ้น 11 ราชวงศ์ โดยมีราชวงศ์ที่ปกครองโดยชาวจีน หรือชาวฮั่น 9 ราชวงศ์ และราชวงศ ์ที่ปกครองโดยชาวต่างชาติ 2 ราชวงศ์ ในแต่ละราชวงศ์มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งการปกครอง วัฒนธรรม  ภาษา เทคโนโลยี ศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ ต่อยอดกันมา จนกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ๆ ประการในปัจจุบัน  ราชวงศ์แรกในประวัติศาตร์ของจีน คือราชวงศ์เซี่ยในยุคราชวงศ์โบราณ    และราชวงศ์สุดท้ายของจีน คือราชวงศ์ชิงในยุคจักรวรรดิ ต่อมาได้เกิดปฏิวัติชินไฮ่ เกิดการล้มล้างระบอบจักรพรรดิ   ในปีค.ศ.1911 จนนำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐจีน ในปีค.ศ.1912 ก่อนที่จะเกิดสงครามกลางเมือง และนำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปีค.ศ.1949 ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครอง ของประเทศจีนที่สืบเนื่องจนถึงยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ ทางคณะผู้จัดทำจะสรุปข้อมูลความรู้คร่าวๆ ของแต่ละราชวงศ ์อีกครั้ง ให้นักเรียนในทบทวนความรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

1. ราชวงศ์เซี่ย (2100-1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
     -  ราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ประเทศจีน และเริ่มต้นยุคราชวงศ์โบราณ
     -  มีอาณาเขตปกครองอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง ของมณฑลชานสีในปัจจุบัน
     -  ขุดค้นพบแหล่งวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว คาดว่าเป็นวัฒนธรรมราชวงศ์เซี่ย
     -  มีรากฐานอำนาจจากการยึดทรัพย์สินต่าง ๆ มาเป็นของส่วนตัว

บริเวณแหล่งโบราณคดีเอ้อหลี่โถวในมณฑลเหอหนันทางภาคกลางของจีน
ที่มา http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000138564&Html=1&TabID=3&

2. ราชวงศ์ชาง (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
     -  เป็นราชวงศ์แรกที่มีบันทึกทางประวัติศาตร์ด้วยตัวอักษร
     -  การประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
     -  ความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
     -  ปกครองแบบนครรัฐ

อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า
ที่มา http://www.ksv.ac.th/tb/cai/social/east_china_data.htm

3. ราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
      -  เป็นราชวงศ์สุดท้ายในยุคราชวงศ์โบราณ แบ่งยุคเป็น 2 ช่วงราชวงศ์ คือราชวงศ์โจวตะวันตก และราชวงศ์โจวตะวันออก
       -  แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นโอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์”
        -  เริ่มต้นยุคศักดินาในประเทศจีน
        -  กำเนิดลัทธิขงจื๊อ โดยขงจื๊อ และลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ซึ่งคำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
        -  ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ โดยซุนวู

ขงจื๊อ
ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/78876

4. ราชวงศ์ฉินหรือจิ๋น (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
        -  ราชวงศ์แรกของยุคจักรวรรดิจีน
        -  จิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีน ทรงสามารถรวบรวมการปกครองแผ่นดินของจีนให้เป็นหนึ่งเดียวได้เป็นครั้งแรก
        -  ก่อสร้างกำแพงเมืองจีน เพื่อต่อต้านผู้รุกรานทางตอนเหนือ
        -  เริ่มการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด

จิ๋นซีฮ่องเต
ที่มา http://www.ksv.ac.th/tb/cai/social/east_china_data.htm

5. ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 220)
         -  แบ่งราชวงศ์เป็น 2 ช่วงราชวงศ์ คือราชวงศ์ฮั่นตะวันตก และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก โดยมีราชวงศ์ซินปกครองขั้นกลาง ในช่วงค.ศ. 9-23
        -  เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม (Silk Rood)
        -  คำสอนลัทธิขงจื๊อ ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
        -  นโยบายทางการเมือง “ผ่อนภาระหน้าที่ ประชาชน”
        -  เกิดความแตกแยกในช่วงปลายราชวงศ์ จนนำไปสู่ยุคสามก๊ก

เส้นทางสายไหม
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/เส้นทางสายไหม

6. ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)
        -  รวบรวมจักรวรรดิได้อีกครั้ง โดยสมเด็จพระจักรพรรดิสุยเหวินตี้ หลังความแตกแยกในยุคสามก๊ก
        -  ขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม

แม่น้ำฮวงโห
ที่มา https://sunisach13.wordpress.com

7. ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)
        -  ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน มีนครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
        -  พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระถังซำจั๋ง เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
        -  เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
        -  ศิลปะแขนงต่าง ๆ มีความรุ่งเรือง
        -  สตรีขึ้นปกครองแผ่นดินเป็นครั้งแรก คือ พระนางบูเช็กเทียน
        -  ปลายราชวงศ์ เกิดความแตกแยกเป็นยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ. 907-960)

พระนางบูเช็กเทียน
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/บูเช็กเทียน

8. ราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960-1279)
        -  การเดินเรือสำเภาก้าวหน้าอย่างมาก
        -  มีสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นต้นแบบของเทคโนโลยีในการปัจจุบัน เช่น เข็มทิศ ลูกคิด แท่นพิมพ์หนังสือ ฯลฯ
        -  รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
        -  สถาปนาลัทธิขงจื๊อแนวใหม่
        -  ขุนนางที่โดดเด่น ได้แก่ เปาบุ้นจิ้น

การรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
ที่มา http://www.mali-imc.com/pain-center/

9. ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368)
        -  เป็นราชวงศ์ชาวต่างชาติราชวงศ์แรกของจีน ปกครองโดยชาวมองโกล มีปฐมจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์ คือ กุบไลข่าน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิหยวนซื่อจู
        -  ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวอิตาลี
        -  ประดิษฐ์ประทัด ซึ่งพัฒนามาเป็นดินปืนในแบบยุโรป รวมทั้งประดิษฐ์เครื่องมือดาราศาสตร์

มาร์ค โคโปโล
ที่มา http://who-in-the-world-piyarith.blogspot.com/2014/12/polo-marco-1254-1324.html

10. ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)
        -  เป็นราชวงศ์สุดท้ายของชาวฮั่นที่ได้ปกครองประเทศจีน
        -  วรรณกรรม นิยมเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าใช้ภาษาเขียน นวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
        -  ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล โดยมีเจิ้งเหอ หรือซำเปากง เป็นนักเดินเรือชาวจีนที่ได้บุกเบิกการเดินทางด้วยเรือไปเกือบทั่วโลก
        -  ก่อสร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม)
        -  ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามารุกรานตั้งแต่ช่วงกลางของราชวงศ์

พระราชวังหลวงปักกิ่ง
ที่มา http://perdsorbtoday.com/education_detail.php?topic=4884

11. ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912)
        -  เป็นราชวงศ์ชาวต่างชาติราชวงศ์ที่สองของจีน ปกครองโดยชาวแมนจู และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน
        -  เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องถูกบังคับลงนามในสนธิสัญญานานกิง ซึ่งส่งผลเสียต่อจีนหลายประการ
        -  ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
        -  ดร.ซุน ยัดเซ็น ก่อการปฏิวัติซินไฮ่ ในปีค.ศ.1911 เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตย ล้มล้างระบอบศักดินา โดยสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ ได้สละราชบัลลังก์ในปีค.ศ.1912 ถือว่าทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง และของจีน อันเป็นจุดสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีมายาวนานหลายพันปี

ดร.ซุน ยัดเซ็น
ที่มา http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9470000051649