การสร้างปัสสาวะของไต เริ่มจากเลือดแดงไหลเข้าสู่ไตทั้ง 2 ข้าง ประมาณ 1,200 ลิตร/นาที ไตจะทำหน้าที่ดูดซึมสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กลับเข้าสู่ร่างกายและขับสารที่ไม่ต้องการทิ้งไปใน ปัสสาวะ ปัสสาวะจากท่อรวมจะไหลเข้าสู่กรวยไตและหลอดไต เพื่อนำไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะและขับออกจากร่างกาย ขบวนการสร้างปัสสาวะ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ
1. การกรองที่โกลเมรูลัส (Glomerulus Filtration) การกรองจะเกิดที่โกลเมอรูลัส โดยเลือดที่ผ่านเข้ามาในโกลเมอรูลัส จะถูกกรองภายใต้แรงดัน ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆไปยังช่องระหว่างโบวแมน แคปซูล น้ำที่กรองได้เรียกว่า ฟิลเตรท(Filtrate) ซึ่งมีส่วนประกอบของความเข้มข้นคล้ายพลาสมายกเว้นไม่มีสารโมเลกุลใหญ่ คือ โปรตีน ในปกติไตกรองพลาสมาออกประมาณร้อยละ 21 ของเลือด ที่ผ่านเข้าสู่ไต ดังนั้นใน 1 วัน เลือดที่ผ่านไตถึง 180 ลิตร ก็ควรมีพลาสมาที่ถูกกรองออกประมาณ 40 ลิตร แต่ในสภาพจริงพลาสมาที่ผ่านมา กรองนี้ไม่ได้ถูกขับออกจากร่างกายทั้งหมดเพราะยังต้องผ่านสู่ท่อไตเพื่อเข้ากระบวนการสร้าง ปัสสาวะอีก 2 ขั้นตอนต่อไป
2. การดูดกลับของไต (Tular Reabsorbtion) คือขบวนการดูดกลับสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากท่อไตกลับเข้าสู่กระแสเลือดจะเกิดขึ้นตลอดความยาวของท่อเล็กๆ ในหน่วยทำงานของไต จะดูดซึมเอาน้ำและสารบางอย่างที่ร่างกายต้องการกลับ คืนสู่กระแสเลือด ประมาณ 178.5-179 ลิตร/วัน จึงมีปัสสาวะออกมานอกร่างกายเพียง 1-1.5 ลิตรต่อวัน การดูดซึมกลับจะเกิดขึ้นมากบริเวณหลอดฝอยไตส่วนต้น สารที่ถูกดูดซึมกลับ ได้แก่ กลูโคส ฟอสเฟต กรดแลคติก กรดอะมิโน วิตามินซีซิเตรท (Citrate) มอลเลท (Malate) โซเดียม น้ำ ไบคาร์บอเนต ยูเรีย และคลอไรด์
3. การขับทิ้ง (Tubular Secretion)
คือขบวนการขับสารที่เป็นพิษหรือเกินความต้องการออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ท่อไต สารที่ได้จากการกรอง และไม่สามารถดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือด จะเหลืออยู่ในท่อเล็กๆ ในหน่วยทำงานของไต สะสมรวมกันเป็นน้ำปัสสาวะ สารเหล่านี้ได้แก่ ยูเรีย กรดยูริค ครีอะตินิน ของเสียจากกระบวนการเผาผลาญของโปรตีนและยาต่างๆ หน้าต่อไป >> |