kidney

 

Home
Kidney Transplantation
Advantages and disadvantages of Kidney Transplantation
Diseases related to kidney
Kidney care
Profile

 

Kidney care

ที่มารูปภาพ : https://luckareerat.files.wordpress.com/2011/03/drawing-renal.jpg

ไต เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญกับร่างกาย ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายและหน้าที่อื่นอีกหลายอย่าง ดังนั้นการดูแลไตจึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อที่ไตจะได้คงสภาพการทำงานต่อไปได้ 

ตำแหน่งและลักษณะของไต 

คนปกติมีไตอยู่ 2 ข้างด้วยกัน ลักษณะของไตจะคล้ายเมล็ดถั่วแดง แต่ละข้างวางตัวในลักษณะแนวตั้ง ขนานกับกระดูกไขสันหลังช่วงเอว ฝังตัวติดกับผนังลำตัวของแผ่นหลัง หรือถ้าจะให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ตำแหน่งของไตจะอยู่บริเวณสีข้างของร่างกาย โดยไตข้างซ้ายจะวางตัวสูงกว่าไตข้างขวาเล็กน้อย เนื่องจากด้านบนไตข้างขวาเป็นตำแหน่งของตับ ซึ่งไตทั้ง 2 ข้างนั้นจะหันส่วนเว้าหรือที่เรียกว่า ขั้วไต เข้าหากระดูกไขสันหลัง 

ส่วนของเนื้อไต จะประกอบไปด้วยหน่วยไต (nephron) ในไตแต่ละข้างจะมีหน่วยไตอยู่ประมาณ 1 ล้านหน่วย ทำหน้าที่สำคัญในการกรองพลาสมา (plasma) ซึ่งก็คือน้ำเลือด ปรับส่วนประกอบและความเข้มข้นของปัสสาวะ โดยหน่วยไตแต่ละหน่วยจะทำงานเป็นอิสระต่อกัน จนถึงจุดเชื่อมที่หลอดไตฝอยรวม (collecting duct) ปัสสาวะที่ผลิตได้จากแต่ละหน่วยไตจึงไหลรวมกันเข้าสู่หลอดไตฝอยรวม กรวยไต และท่อไตตามลำดับ ไปสะสมรวมกันอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการขับทิ้งออกจากร่างกายต่อไป 

หน้าที่ของไต 

หน้าที่ซึ่งเด่นชัดมากที่สุดของไต คือ การขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการผลิตปัสสาวะให้มีปริมาณของส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม เป็นการรักษาสมดุลของน้ำกับแร่ธาตุในร่างกาย โดยหน้าที่ในส่วนนี้ทั้งหมดจะทำงานโดยหน่วยไต นอกจากนั้นไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ด้วย เช่น การกระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และการหลั่งเอนไซม์เรนิน (renin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต 

วิธีการดูแลไต

แหล่งข้อมูล : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article

อาหารที่ช่วยบำรุงไต

ซึ่งนอกจากจะเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแล้ว การรับประทานยาแบบพร่ำเพรื่อ รวมทั้งการได้รับเกลือโซเดียมหรือบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณที่มากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็ล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นโรคไตวายและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในที่สุด

ดังนั้น นอกจากการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะเป็นสาเหตุทำให้ไตต้องทำงานหนัก โดยรับประทานอาหารแต่พอดี หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม รวมทั้งรับประทานยาตามแพทย์สั่งและไม่หายามาทานเองโดยไม่จำเป็นแล้ว

การรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงไตและเสริมสร้างการทำงานของไตให้ดีขึ้น ก็ยังจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ไตแข็งแรง และทำหน้าที่ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาหารที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงไตให้แข็งแรง ได้แก่

กระเทียม

นอกจากจะมีประโยชน์ในการนำมาปรุงรสอาหารเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการบริโภคเค็มได้ดีแล้ว ในกระเทียมยังมีสารอัลลิอิน (Alliin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราต่าง ๆ ได้ดี ทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยขับสารพิษในกระแสเลือดจึงทำให้เลือดสะอาดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รวมทั้งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้ด้วย

หอมหัวใหญ่

พืชผักสมุนไพรใกล้ตัวที่นอกจากจะมีวิตามินซีสูงแล้ว ยังมีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นพฤกษเคมีในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ดี ทั้งยังมีสารโพรสตาแกลนติน (Prostaglandin) ในปริมาณสูง จึงมีส่วนช่วยลดความหนืดของเลือด มีสารอัลลิลิกไดซัลไฟด์ (Allilic Disulfides) ที่มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิต จึงนิยมนำมาประกอบอาหารให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดโรคไตในผู้ที่ยังแข็งแรงดีได้

กะหล่ำปลี

เพราะนอกจากจะมีปริมาณของเกลือโซเดียมต่ำที่ไม่ทำให้ไตต้องทำงานหนักแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงไต นอกจากนี้ กรดทาร์ทาริก (Tartaric Acid) ที่อยู่ในกะหล่ำปลี ยังมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งและขัดขวางไม่ให้น้ำตาลและแป้งกลายเป็นไขมัน จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้  ที่สำคัญคือ ในกะหล่ำปลียังอุดมไปด้วยสารกลูตาไธโอน (Glutathione) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการขับล้างสารพิษต่าง ๆ ในร่างกาย จึงช่วยลดภาระการทำงานของไตไปได้มาก

แครนเบอรี่

ผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่มีสรรพคุณช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจึงช่วยให้ไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไต เนื่องจากความเป็นกรดอ่อน ๆ ของผลแครนเบอรี่จะไปป้องกันการตกตะกอนของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดก้อนนิ่วได้ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีหลายชนิดและมีวิตามินซีสูง จึงมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ รวมทั้งช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี

เนื้อปลา

ได้แก่ ปลาสวาย ปลาช่อน ปลากะพงขาว ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า และปลาแมคคาเรลเป็นต้น เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมกา 3 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความข้นเหนียวของเลือด ช่วยควบคุมความดัน และป้องกันการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ การรับประทานปลาทะเลเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การเกิดภาวะไตเสื่อมลงได้

เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ดังนั้น การดูแลตนเองด้วยการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ไม่รับประทานอาหารที่จะส่งผลต่อความเสื่อมหรือก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ กับร่างกาย โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงบริโภครสเค็มที่จะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนัก

เพราะเมื่อป่วยด้วยโรคไตจนต้องเข้ารับการรักษาโดยการฟอกเลือด นอกจากจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงแล้ว ยังบั่นทอนสภาพจิตใจ รวมทั้งทำการให้ดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะจะต้องดูแลตนเองมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน จึงอาจทำให้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงได้

แหล่งข้อมูล https://www.organicbook.com/health/

กลับข้างบน

<< ย้อนกลับ หน้าต่อไป >>