kidney

 

Home
Kidney Transplantation
Advantages and disadvantages of Kidney Transplantation
Diseases related to kidney
Kidney care
Profile

 

  Kidney Transplantation

ที่มารูปภาพ : http://talkaboutsex.thaihealth.or.th/knowledge/16625

การปลูกถ่ายไต หรือการเปลี่ยนไต (Kidney Transplantation)

คือวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งระยะนี้อัตราการกรองของไตของผู้ป่วยลดลงต่ำมาก ผู้ป่วยจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของไตที่เหลืออยู่  การปลูกถ่ายไต หรือการเปลี่ยนไต  เป็นการผ่าตัดนำไตจากผู้บริจาคที่ยังดีอยู่ มาใส่เข้าในร่างกายของผู้ป่วย ไตใหม่ที่ใส่เข้ามาจะสามารถทำหน้าที่แทนไตเดิมได้ทุกแง่มุม ซึ่งไตที่ได้มาอาจจะมาจากไตของผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living Donor) หรือจากผู้ที่เสียชีวิต (Deceased Donor) แต่ต้องผ่านการตรวจสอบแล้วว่าเข้ากันได้กับผู้ป่วย ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตนับว่าเป็นวิธีการรักษาที่ประสบความสำเร็จสูง ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายไม่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตทางหน้าท้องไปตลอดชีวิต และสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพแข็งแรงใกล้เคียงคนปกติ มีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คุณสมบัติของผู้บริจาคไตที่มีชีวิต (Living related donor) 
1.มีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 18 ปี และไม่ควรมีอายุเกิน 60 ปี 
2.ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิตตัวบน ไม่มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างไม่มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท) 
3.ไม่มีโรคเบาหวาน 
4.ไม่มีประวัติเป็นโรคไตเรื้อรัง 
5.มีค่าโปรตีนในปัสสาวะไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อ 24 ชั่วโมง 
6.มีค่าอัตราการกรองของไตมากกว่า 80 มิลลิลิตร/นาที/ 1.73 ตารางเมตร 
7.ไม่มีภาวะโรคอ้วน 
8.ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงทางอายุรกรรม เช่น ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ภาวะหัวใจขาดเลือด, มะเร็ง, ภาวะติดเชื้อในร่างกาย , ติดยาเสพติด เป็นต้น 
9.ไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตับอักเสบซี เอชไอวี 
10.ต้องเป็นญาติโดยสายเลือดหรือคู่สมรสตามกฎหมายข้อบังคับแพทยสภา 
11.ต้องไม่เป็นการซื้อขายไต 

ลำดับขั้นตอนในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต 
1.การตรวจร่างกายและทดสอบสภาพจิตใจของผู้บริจาคและผู้รับบริจาค โดยทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาความผิดปกติในระบบต่างๆ และทดสอบสภาพจิตใจ โดยจิตแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมในการบริจาคอวัยวะ โดยผู้บริจาคอวัยวะต้องไม่ถูกบังคับ หรือได้รับอามิสสินจ้างทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นทรัพย์หรือผลประโยชน์อย่างอื่น 
2.การตรวจสอบเอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาค เพื่อยืนยันความเป็นญาติกันจริง ในกรณีที่ไม่สามารถยืนยันความสัมพันธ์กันได้ ต้องมีการตรวจพิสูจน์ทางพันธุกรรมเพิ่มเติม 
3.การนัดเจาะเลือดเพื่อตรวจชนิดของเนื้อเยื่อและการผสมเลือดเพื่อทดสอบการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ 
4.การประชุมกับคณะกรรมการปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อความโปร่งใสในการบริจาคอวัยวะ โดยคณะกรรมการปลูกถ่ายไตของโรงพยาบาลพระรามเก้า จะทำหน้าที่ ดูแลการปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลพระรามเก้า    ให้มีความเรียบร้อย ถูกต้องตามมาตรฐานจริยธรรมของการปลูกถ่ายอวัยวะ (ตามระเบียบสภากาชาดไทย ว่าด้วยศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย พ.ศ.2545)
5.การฉีดสีดูเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต เพื่อเลือกข้างของไตที่จะทำการผ่าตัดบริจาคให้ผู้รับไต 
6.กำหนดการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ตามความพร้อมของผู้ป่วย

แหล่งข้อมูล : http://www.kidneypraram9.com/ar_kidney_donate_family.php

<< ย้อนกลับ หน้าต่อไป >>