เทคโนโลยีการแพทย์
Let this be your good day.

ความหมายของเทคโนโลยีการแพทย์

ความสำคัญของเทคโนโลยีการแพทย์

วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการแพทย์

ตัวอย่างเทคโนโลยีการแพทย์

เทคโนโลยีการแพทย์ในประเทศไทย

แนะนำผู้จัดทำ

 

 

 

เทคโนโลยีการแพทย์ในประเทศไทย

ประเทศไทยนำเข้าเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในปี2548 ถึง 15,799 ล้านบาท
เพื่อช่วยในการป้องกันและวินิจฉัยโรค แต่โอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์
ยังคงกระจุกตัวในเมืองหลวง และพื้นที่มีความเจริญ

เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้แก่ ยาและเวชภัณฑ์เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรค และเครื่องมือในการ
รักษาโรค ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าและเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพัฒนาการของตัวเทคโนโลยีเองและ
ความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในส่วนของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ที่ต้องการให้บริการและได้รับ
บริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และได้ผล จึงทำให้ระบบบริการมีการพัฒนา และนำเข้า
เทคโนโลยีมาใช้ในระบบบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของการผลิต และ
นำเข้ายาแผนปัจจุบัน ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว จากการเติบโตดังกล่าว ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scanner) เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) และเครื่องตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม (Mammography) เป็นต้น

เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และโรงพยาบาลเอกชนที่มี
ศักยภาพ เช่นเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) อยู่ในกรุงเทพมหานครถึง 2 ใน
3 เช่นเดียวกับอยู่ในภาคเอกชนถึง 2 ใน 3 เช่นกัน แต่สำหรับเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scanner)
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เก่ากว่าและถูกกว่า มีการกระจายตัวอยู่ในภูมิภาคที่มากขึ้น คือ อยู่ในภูมิภาค 2 ใน 3
ของเครื่องที่มีทั่วประเทศ แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเอกชน ถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ ภูมิภาคต่างๆ ก็มีการ
กระจายเทคโนโลยีที่ต่างกัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scanner)
เพียง2.2 เครื่องต่อประชากรล้านคน เทียบกับกรุงเทพมหานครแล้ว แตกต่างกันถึง 10 เท่า ทำให้การเข้าถึง
เทคโนโลยีราคาแพงมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มและภูมิภาคอยู่ค่อนข้างมาก

เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้มีราคาแพง การประเมินความคุ้มค่าจึงมีความสำคัญ ทั้งในมุมมองของการวินิจฉัย
และรักษาผู้ป่วย ว่าช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตมากน้อยเพียงใด และมุมมองของระบบบริการสุขภาพและของสังคม
ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เทียบกับผลสัมฤทธิ์ในการเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีของ
ประชาชนในสังคม

 

กลับไปด้านบน

 

อ้างอิง http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2009/thai2009_5.pdf