ความเป็นไปของโรค

Bipolar Disorder

 

อาการระยะเมเนียมักเกิดขึ้นเร็ว และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนภายใน 2-3 สัปดาห์ อาการจะเต็มที่อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าวจนญาติจะรับไม่ไหว
ต้องพามาโรงพยาบาล อาการในครั้งแรกๆ จะเกิดหลังมีเรื่องกดดัน แต่หากเป็นหลายๆครั้งก็มักเป็นขึ้นมาเอง
โดยที่ไม่มีปัญหาอะไรมากระตุ้นเลย

ข้อสังเกตประการหนึ่งคือคนที่อยู่ในระยะเมเนียจะไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติ มองว่าช่วงนี้ตัวเองอารมณ์ดีหรือใครๆ ก็ขยันกันได้
ในขณะที่หากเป็นระยะซึมเศร้าคนที่เป็นจะพอบอกได้ว่าตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม
ในระยะซึมเศร้าหากคนใกล้ชิดสนใจมักสังเกตไม่ยากเพราะเขาจะซึมลงดูอมทุกข์แต่อาการแบบเมเนียจะบอกยากโดยเฉพาะในระยะแรกๆ ที่อาการยังไม่มาก เพราะดูเหมือนเขาจะเป็นแค่คนขยันอารมณ์ดีเท่านั้นเอง แต่ถ้าสังเกตจริงๆก็จะเห็นว่าลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ตัวตนของเขา เขาจะดู เวอร์ กว่าปกติไปมาก

 

 

สาเหตุของโรค

 

ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของความผิดปกติทางอารมณ์นั้นมีได้หลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสารสื่อประสาท ในสมอง ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย , การนอนหลับที่ผิดปกติ, ความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ 2. ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความเครียด หรือปัญหาต่าง ๆ ภายในชีวิตได้ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ขึ้นมาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางสังคมไม่ใช่สาเหตุของโรค แต่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคแสดงอาการได้ 3. ปัจจัยทางพันธุศาสตร์ ขณะนี้ เรายังไม่ทราบรูปแบบของการถ่ายทอดผ่านยีนที่ชัดเจนของโรคไบโพลาร์ แต่จากการศึกษาพบ ว่าสามารถพบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็น bipolar มากกว่าในประชากรทั่วไป

รูปจาก NARSAD research newsletter article.

จาก ตาราง บรรทัดแรกแฝดไข่ใบเดียวกัน ต่อมาแฝดไข่คนละใบ ลูกที่มีพ่อแม่ป่วย 1 คน ลูกที่มีพ่แม่ป่วยทั้งคู่ พี่น้อง ญาติลำดับที่ 2 และคนทั่วไป คน ที่ป่วยลูกมีโอกาสเป็น 15-30% ความเสี่ยงทางกรรมพันธ์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกของคนที่ป่วยจะต้องเป็นเสมอไป คนที่พ่อกับแม่เป็นลูกก็ไม่ได้เป็น 100% และจะเห็นว่าแม้แต่ในแฝดไข่ใบเดียวกันคือมีอะไรเหมือนกันหมดทุกอย่าง คนหนึ่งเป็นอีกคนก็ไม่ได้เป็น 100% เพราะการแสดงออกของอาการยังขึ้นกับปัจจัยอีกหลายๆ อย่างเช่นสภาพแวดล้อมความกดดันต่างๆ โรคนี้จึงไม่ใช่โรคทางกรรม พันธ์เหมือนอย่างกับโรคฮีโมฟิเลียหรือโรคทางกรรมพันธ์อื่นๆ แต่จะคล้ายกับโรคเบาหวานมากกว่า คือพ่อกับแม่เป็นลูกก็เสี่ยงแต่ไม่แน่ว่าจะเป็น บางคนพ่อแม่ไม่เป็นแต่ตัวเองเป็นก็มี

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

หน้าหลัก
การวินิจฉัยโรค
ระยะซึมเศร้า
ระยะเมเนีย
ผู้จัดทำ

 

TOP