การวินิจฉัยโรค

Bipolar disorder

 

ไม่มีการตรวจพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ ข้อมูลหลักในการวินิจฉัยคือ การซักประวัติอาการ ความเป็นไปของโรค ความเจ็บป่วยทางจิตในญาติ การใช้ยาและสารต่างๆ หรือโรคประจำตัว เพราะยาบางขนานหรือโรคทางร่างกายบางโรคอาจมีอาการทางจิตเหมือนกับโรคอารมณ์สองขั้วได้ แพทย์จะนำข้อมูลได้จากผู้ที่เป็นและญาติ ร่วมไปกับการตรวจร่างกายและตรวจสภาพจิตมาประมวลกันเพื่อการวินิจฉัย

 

การรักษา

 

การรักษาด้วยยา 

  การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาหลักในโรคนี้แพทย์จ่ายยาร่วมกับการช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางจิตใจเพื่อช่วยผู้ที่เป็น
ในการปรับตัวกับสังคมและจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิต
 

           1. การรักษาในระยะอาการกำเริบ 

           ระยะเมเนีย  ยาที่นิยมใช้ได้แก่

 ·        ลิเทียม  (lithium) เป็นยาช่วยควบคุมอาการทางอารมณ์ การออกฤทธิ์ในการรักษาของลิเทียมต้อง
ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป ในระยะแรกจึงอาจต้องให้ยาขนานอื่นร่วมไปด้วย

 ·        วาลโปรเอท (valproate) และคาร์บามาซีปีน (carbamazepine) เป็นยากันชักแต่ในทางจิตเวช
ใช้เป็นยาทำให้อารมณ์คงที่เหมือนลิเทียม

 ·        ยารักษาโรคจิต  ใช้เพื่อลดอาการพลุ่งพล่าน หรืออาการโรคจิตเช่นประสาทหลอน หลงผิดที่อาจเกิดในช่วงที่อาการมาก

           ระยะซึมเศร้า

 ·        ยาแก้ซึมเศร้า ใช้เพื่อลดอาการซึมเศร้า ท้อแท้ ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์จึงออกฤทธิ์ในการรักษา

 แล้วจะต้องกินยาไปนานเท่าไร ?  โดยทั่วไปหากเป็นการป่วยครั้งแรกหลังจากที่แพทย์รักษาจน
ผู้ป่วยอาการกลับสู่ปกติแล้ว จะให้ยากินต่อไปอีกจนครบ
 6 เดือน แล้วค่อยๆ ลดยาลงจนหยุดไป
โดยทั่วไปก็ใช้เวลาเกือบปี

 พบบ่อยคือพออาการดีขึ้นหลังกินยาไปได้ 1-2 เดือนผู้ป่วยก็ไม่มาพบแพทย์ ไม่ยอมกินยาต่อ
เพราะคิดว่าหายแล้ว หรือกลัวติดยา กลัวว่ายาจะสะสม ในความเป็นจริงแล้วยาทางจิตเวชที่จะมีติดก็คือ
ยานอนหลับเท่านั้น 
(ซึ่งจิตแพทย์เองก็ไม่นิยมใช้ยาอื่นไม่พบติดยาแน่ๆ  ที่สำคัญคือหากหยุดยาเร็ว
จะมีโอกาสกลับมามีอาการกำเริบอีกสูงมากเพราะตัวโรคยังไม่ทุเลาลงเต็มที่
เหมือนกับเป็นโรคปอดบวมแต่กินยาแก้อักเสบแค่
 2 วัน พอหยุดยาปอดก็แย่ลงอีกแน่ๆ

           2. การป้องกัน

           ผู้ที่มีอาการกำเริบ 2 ครั้งขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นแบบเมเนียหรือซึมเศร้า ควรกินยาป้องกันระยะยาว โดยทั่วไปแพทย์จะให้กินนานอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

โรคทางกาย และยาที่อาจทำให้เกิดอาการ mania ได้แก่

- โรคทางระบบประสาท ได้แก่ โรคลมชัก, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไมเกรน, เนื้องอกสมอง

- อาการบาดเจ็บที่ศรีษะ

- โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน

- โรคติดเชื่อ เช่น โรคเอดส์, การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง

- โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE

- ยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า, corticosteroid, methylphenidate, levodopa, amphetamine, cocaine เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเอง หรือสงสัยว่าคนใกล้ตัวอาจจะเป็น bipolar disorder อาจจะต้องไปพบกับแพทย์ เพื่อให้ช่วยประเมินโดยละเอียด และวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย

 

 
หน้าหลัก
ความเป็นไปของโรค
ระยะซึมเศร้า
ระยะเมเนีย
ผู้จัดทำ

TOP

bipolar