โรคอ้วน (Obesity)

การกินอาหารที่ดีมีประโยชน์นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรามีสุขภาพดี แต่หากได้รับปริมาณอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็จะเกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ และทำให้คุณกลายเป็น “โรคอ้วน” 

ปัจจุบันคนอ้วนถือเป็นภาวะของการเป็น “โรค” เพราะความอ้วนส่งผลให้สุขภาพโดยรวมไม่แข็งแรง ส่งผลต่อสมรรถนะใน
การทำงาน การใช้ชีวิต บางคนอ้วนมากจนช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เคลื่อนตัวไปไหนมาไหนลำบาก หรือบางคนอ้วนมากจนขยับตัว
ไม่ได้เลย

เมื่อเราเริ่มอ้วนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม โรคตับ นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง มีปัญหาในการหายใจ มักเป็นโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลายโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร


https://i.ytimg.com/vi/y_I4z5WY2pk/maxresdefault.jpg
ความหมายของโรคอ้วน

องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของ โรคอ้วน” ไว้ว่า

“ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้”

•        โดยเมื่อมีค่าดัชนีมวลกาย/ดรรชนีมวลกาย (Body mass index หรือ เรียกย่อว่า BMI/บีเอ็มไอ) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป เรียกว่า น้ำหนักตัวเกิน
•        แต่ถ้ามีค่าดัชนีมวลกาย  ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เรียกว่า เป็นโรคอ้วน

น้ำหนักตัวเกินและ โรคอ้วนมีสาเหตุ วิธีวินิจฉัย การดูแลรักษา และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆเช่นเดียวกันทุกประการแตกต่างกัน
ที่ความรุนแรงของปัญหาทางสุขภาพ ในคนน้ำหนักตัวเกินจะรุนแรงน้อยกว่าในคนเป็นโรคอ้วน ดังนั้นในทางการแพทย์ ทั้งน้ำหนัก
ตัวเกิน และโรคอ้วนจึงมักกล่าวถึงควบคู่กันไปเสมอ

กลับสู่ด้านบน
เกณฑ์พิจารณาโรคอ้วน
การที่จะรู้ว่าเราอ้วนหรือไม่นั้น สามารถคิดจากสูตรคำนวณดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ เรียกย่อว่า BMI/บีเอ็มไอ”) ซึ่งเป็น ค่าความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นตัววินิจฉัยว่า ใครน้ำหนักเกิน หรือใครเป็นโรคอ้วน โดยหน่วยของ
น้ำหนัก คิดเป็นกิโลกรัม และหน่วยของความสูงคิดเป็นเมตร โดยค่าดัชนีมวลกายของแต่ละคน จะมีค่าเท่ากับ น้ำหนักของคนๆนั้น หารด้วยความสูงยกกำลังสอง ดังนั้นหน่วยของดัชนีมวลกาย จึงเป็น กิโลกรัม/เมตร2 แต่โดยทั่ว ไปไม่นิยมใส่หน่วยของดัชนีมวลกาย
ค่าดัชนีมวลกายของคนผอม คนปกติ และคนน้ำหนักเกิน ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก เป็นดังนี้

อนึ่ง ค่าดรรชนีมวลกายในผู้ใหญ่และในเด็กต่างกัน เพราะเด็กอยู่ในวัยเจริญเติบโต และมีความแตกต่างกันในการเจริญเติบโต
ระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย ดังนั้นในการคำนวณค่าบี เอ็มไอ จึงต้องใช้อายุและเพศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรียกว่า ค่า BMI-for-Age percentile ซึ่งค่าดรรชนีมวลกายในตารางจะครอบคลุมเรื่องน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น

กลับสู่ด้านบน
สถิติโรคอ้วน
จากการสำรวจข้อมูลปี 2552 มีคนอ้วนเป็นจำนวนมากถึง 16 ล้านคน เป็นหญิงมากกว่าชายถึง 2 เท่าตัว ซึ่งค่าเฉลี่ยความอ้วนของคนไทยอยู่ในลำดับที่ 2 รองจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของประเทศเลยทีเดียว

http://www.dmthai.org/sites/default/files/1.jpg
กลับสู่ด้านบน
สาเหตุของโรคอ้วน

คนเรารับประทานอาหารเข้าไปไม่ว่าจะเป็นประเภทแป้ง หรือโปรตีนหากพลังงานที่ได้รับเกินความต้องการ ร่างกายก็จะสะสมอาหาร
ส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน สะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน ดังนั้นคนที่อ้วนเกิดจากเรารับอาหารที่มีพลังงานมากกว่าพลังงาน
ที่เราใช้ไป สาเหตุจริงๆยังไม่ทราบแน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้
•        การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ จะให้น้ำหนักเกินโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูง ซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน
•        ประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส sugars, fructose,น้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
•        ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงานได้มาก ดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วน
ง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ำหนักยาก
•        โรคต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้าง
ฮอร์โมน cortisol มากทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือร่างกายสร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต
•        จากยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic antidepressant,phenothiazine ยาลดความดัน beta-block ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด ยา steroid
•        กรรมพันธุ์ จะพบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม เช่นคนที่เป็นโรคขาด leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมน
ที่ส่งไปยังสมองทำให้เรารับอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่
•        วัฒนธรรมการดำรงชีวิตและอาหารซึ่งเห็นได้ว่าบางชาติจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากอาหารของชาตินั้นนิยมอาหารมันๆ
•        ความผิดปกติทางจิตใจทำให้รับประทานอาหารมาก เช่นบางคนเศร้า เครียด แล้วรับประทานอาหารเก่ง
•        การดำเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอำนวยความสะดวดมากมาย และขาดการออกกำลังกาย มีรถยนต์ มีเครื่องทุ่นแรง มีทีวี
รายการดีๆให้ดู มีสื่อโฆษณาถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วนตั้งแต่ในวัยเด็ก
•        การดื่มสุรา
•        การสูบบุหรี่
•        โรคอ้วนในวัยรุ่น ชีวิตที่มีความสบาย ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดประเภท และไม่จำกัดปริมาณเหล่านี้ทำให้เกิดโรคอ้วน เมื่ออ้วนก็ทำให้ออกกำลังได้ไม่เต็มที่ พบว่าวัยรุ่นหรือเด็กที่มีน้ำหนักเกินมักจะเกิด
โรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ น้ำหนักของผู้ชายจะเพิ่มจนคงที่เมื่ออายุประมาณ 50 ปี ส่วนผู้หญิงน้ำหนักจะเพิ่มจนอายุประมาณ 70 ปี
•        โรคอ้วนในเด็ก เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีช่วงที่เจริญเติบโตอยู่สองช่วงคือวัยเด็กและวัยรุ่น กรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนดให้
แต่ละคนมีเซลล์ไขมันไม่เท่ากัน คนอ้วนจะมีเซลล์ไขมันมาก การอ้วนในเด็กจะมีปริมาณเซลล์ไขมันมากทำให้ลดน้ำหนักยาก
ส่วนโรคอ้วนในผู้ใหญ่เกิดจากเซลล์ไขมันมีขนาดใหญ่

กลับสู่ด้านบน
สาเหตุที่โรคอ้วนเป็นปัญหาทางการแพทย์

น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนในปัจจุบัน จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เพราะประชากรทั่วโลก รวมทั้งในคนไทย มีปัญหาน้ำหนัก
ตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน เป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุสำคัญของโรค
เรื้อรังต่างๆ ที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก แต่อัตราเสียชีวิตก็ยังคงสูงต่อเนื่อง

โรคที่มี น้ำหนักตัวเกิน และโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยง หรือ เป็นสาเหตุ คือ
•        โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต)
•        โรคเบาหวาน
•        โรคความดันโลหิตสูง
•        โรคไขมันในเลือดสูง
•        โรคนิ่วในถุงน้ำดี เพราะการมีไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้น้ำดีจากตับมีไขมันสูงตามไปด้วย ซึ่งไขมันจะตกตะกอนเกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ง่ายย
•        มีปัญหาในการหายใจ มักเป็นโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
•        เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะ เร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร
•        มีปัญหาทางด้านสังคม ทั้งกับตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว และมักเป็นโรคซึมเศร้า

กลับสู่ด้านบน
5 อันดับโรคที่พบได้บ่อยหลังเป็นโรคอ้วน

http://www.dmthai.org/sites/default/files/1.jpg
กลับสู่ด้านบน
วิธีรักษาโรคอ้วน

แนวทางการรักษาน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนของแพทย์ ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สาเหตุ อายุ สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โรคร่วมต่างๆ น้ำหนักตัวผู้ป่วย และขีดความสามารถของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งการรักษามักใช้หลายๆวิธีการร่วมกัน โดยมัก
เริ่มจากการตั้ง เป้าหมาย และประเมินผลการรักษาตามเป้าหมาย เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีรักษา เช่น ให้ลดน้ำหนักได้ 10% ใน 6 เดือน และต่อจากนั้นดูว่าผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักลงได้อีกไหม และ/หรือ สามารถคงน้ำหนักอยู่เช่นนั้นได้ไหม? เป็นต้น ซึ่งวิธีการรักษา มีตั้งแต่การควบคุมปริมาณและประเภทอาหาร การออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยาลดการอยากอาหาร จนถึง
การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric surgery) ซึ่งในการแนะนำการผ่าตัด จะขึ้นกับดุลพิ นิจของแพทย์ และปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวแล้ว
เช่นกัน

กลับสู่ด้านบน
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคอ้วน

การดูแลตนเองเมื่อปล่อยให้อ้วนแล้ว มักเป็นการยากที่จะควบคุมน้ำหนักได้ ดังนั้นจึงต้องเริ่มควบคุมน้ำหนักตั้งแต่เมื่อเริ่มมีน้ำหนัก
เกิน เช่น รู้สึกเสื้อผ้าคับ หรือ เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วน้ำหนักขึ้นต่อเนื่องทุกอาทิตย์ ซึ่งการดูแลตนเองที่สำคัญ คือ ต้องตระหนักถึงความ
สำคัญของโทษของโรคอ้วน และ น้ำหนักตัวเกิน และมีอุตสาหะในการควบคุมน้ำหนัก โดย
•        กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง ค่อยๆทยอยลด เพราะถ้าลดฮวบฮาบ จะทนหิวไม่ได้ ไม่กินจุบจิบ และเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ท่องเที่ยว ประชุม ก็ยังควรต้องจำกัดอาหารเสมอ
•        จำกัดอาหารแป้ง หวาน และไขมัน เพิ่ม ผักและผลไม้
•        ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหว/เคลื่อนไหวน้อย เช่น ลดการดูทีวี โดยทำงานบ้านทดแทน
•        พยายามหาทางให้ร่างกายใช้พลังงาน เช่น ลงรถเมล์ก่อนถึงป้ายที่ทำงาน 1 ป้าย หรือ ใช้ลิฟต์เฉพาะเมื่อจำเป็น
•        พยายามออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที
•        ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์
•        การควบคุมน้ำหนัก ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในครอบครัว โดย เฉพาะในเรื่องอาหาร เช่น ไม่ซื้อขนมเข้าบ้าน
•        ไม่ซื้อยาลดความอ้วนกินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยามีผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุ
ให้เสียชีวิตได้ เช่น เบื่ออาหารมากจนกินได้น้อย ขาดอาหาร การรับรสชาติผิดปกติ ท้องผูก ปากแห้ง เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดศีรษะ กังวล หงุด หงิดง่าย และสับสน
•        ควรพบแพทย์ เมื่อดูแลตนเองแล้ว น้ำหนักยังขึ้นต่อเนื่อง หรือเมื่อกังวลในเรื่องน้ำหนัก

กลับสู่ด้านบน