headpic Gallstone

  Home ความรู้เบื้องต้น ปัจจัย อาการ การวินิจฉัย แนวทางการรักษา About me

แนะนำเว็บไซต์

แนวทางการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

แนวทางการรักษานิ่วในถุงน้ำดี

• การรักษา

- การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกเป็นการแก้ปัญหาที่ถาวรเพื่อไม่ให้เกิดนิ่วขึ้นได้อีก

และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ

- ไม่สามารถรักษาโดยใช้เครื่องสลายนิ่ว

- การรักษาโดยใช้ยาละลายนิ่ว ใช้ได้เฉพาะนิ่วบางชนิด และต้องรับประทานยา

เป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก

• การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ

• การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน

• การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน ( ERCP )

- จะทำในกรณีที่สงสัยว่ามีนิ่วในท่อน้ำดี

• การใช้เข็มเจาะผ่านตับเข้าไปในท่อน้ำดี ( PTC )

- จะทำในกรณีท่อน้ำดีอุดตัน

การผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบัน : มี 2 วิธี

1. ผ่าตัดแบบเดิม โดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy)

: ปัจจุบันจะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง

2. ผ่าตัดภายใต้กล้อง โดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)

: ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน สามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95

: ถ้าถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน โอกาสผ่าตัดโดยวิธีนี้ได้สำเร็จจะน้อยลงทำโดย

- การเจาะรูเล็กๆบริเวณหน้าท้อง 4 แห่งด้วยเครื่องมือที่ออกแบบเฉพาะ สำหรับ

การเจาะหน้าท้องอย่างปลอดภัย ขนาดรูประมาณ 0.5 ซม. 3 ตำแหน่ง และขนาด

1 ซม.ที่สะดืออีก 1 ตำแหน่ง

- ใส่กล้องที่มีก้านยาวๆและเครื่องมือต่างๆผ่านรูที่ผนังหน้าท้องลงไปศัลยแพทย์

จะสามารถมองเห็นถุงน้ำดีและอวัยวะต่างๆจากจอโทรทัศน์ซึ่งกล้องส่งสัญญาณ

ภาพมา

- ศัลยแพทย์สามารถเลาะแยกถุงน้ำดีออกจากตับและใช้คลิปหนีบห้ามเลือด

แทนไหมเย็บแผล ก่อนตัดขั้วของถุงน้ำดี แล้วเลาะส่วนที่เหลือให้หลุดออก

- เมื่อตัดถุงน้ำดีได้แล้ว บรรจุใส่ถุงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ แล้วดึงออกจากร่างกาย

บริเวณรูสะดือ จากนั้น ศัลยแพทย์จะสำรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ก่อนดึงเครื่องมือและกล้องออกแล้วเย็บปิดแผล

- ในผู้ป่วยบางรายถ้ามีการอักเสบมาก อาจต้องมีการใส่ท่อระบายไว้ 2-3 วัน

ผลดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีภายใต้กล้อง

- อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า เพราะแผลมีขนาดเล็กกว่า

- อยู่โรงพยาบาล ประมาณ 1-2 วัน ซึ่งถ้าผ่าตัดแบบเดิม อยู่โรงพยาบาล ประมาณ

7-10 วัน

- การพักฟื้นหลังผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ทำให้กลับไปทำงานตามปกติ

ได้เร็วกว่าถ้าผ่าตัดแบบเดิม ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน

- แผลขนาดเล็กดูแลง่ายกว่า และมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลขนาดใหญ่

- เมื่อแผลหายจะเป็นรอยเล็กๆบนหน้าท้องเท่านั้น

 

จำเป็นต้องผ่าตัดทุกรายหรือไม่ ?

- ผู้ป่วยอายุน้อย แข็งแรงดี ไม่มีอาการ อาจรอสังเกตอาการดูกับแพทย์ ทุก 6 เดือน

- ผู้ป่วยที่มีอาการควรผ่าตัดทุกราย

- ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไต,

โรคเบาหวาน, โรคตับ ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการถุงน้ำดีอักเสบ แล้วค่อยมารักษา

จะมีความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินมากขึ้น แนะนำผ่าตัดออก ในขณะที่ยังไม่มีอาการ

เนื่องจากปลอดภัยกว่า และโอกาสผ่าตัดผ่านกล้องสำเร็จสูงกว่า

- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ เช่น สูงอายุมากๆ, มีโรคแทรกซ้อนที่คุมอาการไม่ได้

แพทย์อาจต้องพิจารณาตามความเหมาะสม เป็นรายๆ

 

อาการข้างเคียงภายหลังจากการผ่าตัดถุงน้ำดี

เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นเพียงตัวเก็บพักน้ำดีในกรณีที่ผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก

น้ำดียังคงถูกสร้างจากตับและไหลลงมาตามท่อน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็ก

เพื่อย่อยไขมันตามปกติ เพียงแต่อาจไม่เข้มข้นเท่าเดิม ทั้งนี้พบว่า 10%

ของคนที่ไม่มีถุงน้ำดีอาจมีอาการท้องเสียจากน้ำดีไหลออกมามากเกินไปได้

 

กลับสู่ด้านบน

Home l ความรู้เบื้องต้น l อาการ l ปัจจัย l การวินิจฉัย l แนวทางการรักษา l About me l บรรณานุกรม

medthai