DNA (Deoxy-ribonucleic acid) หรือที่เรียกว่า สารพันธุกรรม นั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก โดยกรดนิวคลีอิกที่มีหน้าที่คอยทำการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งโดยมักอยู่ในรูปของโครโมโซมในนิวเคลียสที่อยู่ในเซลล์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ทั้งคน, พืช, สัตว์, แบคทีเรีย, ไวรัส หรือเชื้อรา เป็นต้น คือจะเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไว้ โดยเป็นการถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน หรือที่เราเห็นกันในปัจจุบันทางการแพทย์ ที่หากอยากพิสูจน์ว่าเป็นพ่อแม่ลูกกันจริงหรือไม่ แพทย์ก็จะทำการตรวจ DNA จากเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเราว่าตรงกันหรือไม่ และหากมี DNA ตรงกัน ก็ถือว่ามีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ลูกกัน
ลักษณะโดยทั่วไปของ DNA
คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพในแต่ละส่วน
DNA จะมีลักษณะบิดตัวเป็นเกลียวคู่ ซึ่งนั่นก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ ที่ภายในประกอบไปด้วยฟอสเฟต, น้ำตาล และเบส โดยนิวคลีโอไทด์นี้จะมี (A)อะดีนีน, (C)ไซโทซีน, (G)กัวนีน และ (T)ไทมีน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเบส และอะดีนีนจะเชื่อมต่อกับไทมีน ส่วนไซโทซีนจะเชื่อมต่อกับกัวนีน ทำให้เกิดเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสใน DNA ซึ่งรวมตัวกันเป็นเส้นบิดเป็นเกลียวคู่นั่นเอง
หน้าที่สำคัญของ DNA มีอะไรบ้าง?
1. การจำลองตัวเอง โดย DNA จะมีความสามารถในการจำลองตัวเองในขณะที่เกิดกระบวนการแบ่งเซลล์ที่เป็นการสร้าง DNA ให้เหมือนเดิมที่สุดสำหรับเซลล์ใหม่
2. การถ่ายทอดข้อมูลผ่านอาร์เอ็นเอ โดย DNA จะถูกถอดรหัสเพื่อสร้างอาร์เอ็มเอ ที่มีหน้าที่ในการกำหนดให้กรดอะมิโนในกระบวนการสังเคราะห์ของโปรตีนเรียงตัว และโปรตีนที่ได้นี้จะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบภายในโครงสร้างส่วนต่างๆ ในเซลล์ของร่างกายเรา ตลอดจนช่วยเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ อีกด้วย