การบริจาคโลหิต คืออะไร คุณสมบัติผู้บริจาค ขั้นตอนการบริจาค การเตรียมตัวก่อน - หลังการบริจาค CU BLOOD ข้อดีของการบริจาคโลหิต เกี่ยวกับผู้เขียน

การบริจาคโลหิต คืออะไร

การบริจาคโลหิต คือ การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้จากผู้มีความประสงค์จะบริจาคโลหิต ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค โดยจะนำโลหิตที่ได้นำไปใช้สำหรับการถ่ายโลหิต และ/หรือการเยียวยาทางชีวเภสัชวิทยาโดยกระบวนการที่เรียกว่า การแยกส่วน ธนาคารเลือดจะเป็นผู้ดำเนินการเก็บโลหิต

 

คุณสมบัติผู้บริจาค

1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่อายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยิมจากผู้ปกครอง

2. ผู้บริจาคเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55 - 60 ปี ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์และพยาบาล

3. ผู้บริจาคอายุมากกว่า 60 ปี - 70 ปี แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกตามาอายุ 2 ช่วง ดังนี้

    3.1 การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายมากกว่า 60 จนถึง 65 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)

          1) เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำมาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี

          2)  บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง คือทุก 4 เดือน

          3) ตรวจ Complete Blood Count (CBC), Serum Ferritin (SF) ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประกอบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทั่วไป และสำหรับแพทย์ใช้ผลการตรวจ SF ในการติดตามและปรับการให้ธาตุเหล็กทอดแทน

     3.2 ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 65 ปี จนถึง 70 ปี  (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)

           1) เป็นผู้บริจาคโลหิตต่อเนื่องสม่ำเสมอในช่วงอายุ  มากกว่า  60 ปี จนถึง 65 ปี

           2) บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน

           3) ต้องได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยแพทย์ หรือพยาบาลของธนาคารเลือดหรือหน่วยงานรับบริจาคโลหิตซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต 

           4) ตรวจ CBC และ SF ปีละ 1 ครั้ง 

4.  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต 

5. ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา  

6. ไม่อยู่ในช่วงน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วในระยะ 3 เดือนที่ผานมาโดยไม่ทราบสาเหตุ  

7. สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน  6 เดือน ที่ผ่านมา

8. น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ

9. หากรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่น ๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่น ๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน

9. ไม่เป็นโรคหอบหืด ผิวหนังเรื้อรัง วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่น ๆ

10. ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ตับ ไต มะเร็ง ไทรอยด์ โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ

11. หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน กรณีผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลจะหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ

12. หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน ผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน  7 วัน

13. ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์  

14. ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี

15. หากเจาะหู สัก ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษา โดยใช้เครื่อมือร่วมกัน หรือในสถานที่ที่มีคุณภาพความสะอาดต่ำ อาจติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิต จึงควรงดบริจาคอย่างน้อย 1 ปี  แต่หากกระทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยผู้ชำนาญ และเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัว เว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบหายสนิทอย่างน้อย 7 วัน 

16. หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี

17. หากมีประวัติเป็นมาลาเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้

18. ต้องไม่ได้รับวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือเซรุ่มในระยะ 1 ปี ที่ผ่านมา

19. ก่อนบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่าง ๆ  

20. สตรีอยู่ในระหว่างมีรอบเดือน ถ้าสุขภาพแข็งแรง มีประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่านก็สามารถบริจาคโลหิตได้

 

                                                                                                                                (ขอบคุณข้อมูลจาก สภากาชาดไทย)

                                                                                                    

                                                                                            กลับสู่ด้านน (Scroll back to top)

                                                                                                          กลับสู่หน้าหลัก