kidney

 

Home
Kidney Transplantation
Advantages and disadvantages of Kidney Transplantation
Diseases related to kidney
Kidney care
Profile

 

อ้างอิง : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=36&chap=9&page=t36-9-infodetail01.html


ไต เป็นอวัยวะสำคัญส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งประกอบด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเช่นเดียวกับอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร สมอง ซึ่งอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ ต่างก็ทำหน้าที่เฉพาะส่วน แต่มีการประสานงานกันเป็นอย่างดี จึงทำให้ร่างกายเป็นปกติสุขอยู่ได้ หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเสีย หรือถูกทำลาย ก็จะมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะอื่นได้

ไตมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วแดง อยู่ที่บริเวณบั้นเอวทั้ง ๒ ข้าง ใต้กระดูกซี่โครง และอยู่ ๒ ข้างของกระดูกสันหลัง มีสีแดง เหมือนไตหมูสดๆ มีความยาวโดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางตามความยาวได้ประมาณ ๑๑-๑๒ เซนติเมตร และหนักข้างละ ๑๕๐ กรัม ไตแต่ละข้างได้รับเลือดผ่านทางหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งออกจากหัวใจ เมื่อเลือดไหลผ่านไตจะมีการกรองผ่านหน่วยไตเล็กๆ ที่เรียกว่า เนฟรอน (Nephron) ซึ่งมีอยู่ข้างละ ๑ ล้านหน่วย หน่วยไตเล็กๆ เหล่านี้ทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดผ่านทางท่อไต และเกิดเป็นน้ำปัสสาวะขับออกจากร่างกายทางท่อปัสสาวะ ร่างกายสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยไตที่ปกติเพียง ๑ ข้าง เพราะมีการปรับสมดุลได้ดีมาก ดังนั้นผู้ที่บริจาคไต ๑ ข้างจึงสามารถมีชีวิตที่ปกติด้วยไตที่เหลือเพียงข้างเดียวได้

กลไกการทำงานของไต

การสร้างปัสสาวะของไต  เริ่มจากเลือดแดงไหลเข้าสู่ไตทั้ง 2 ข้าง ประมาณ 1,200 ลิตร/นาที ไตจะทำหน้าที่ดูดซึมสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กลับเข้าสู่ร่างกายและขับสารที่ไม่ต้องการทิ้งไปใน ปัสสาวะ ปัสสาวะจากท่อรวมจะไหลเข้าสู่กรวยไตและหลอดไต เพื่อนำไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะและขับออกจากร่างกาย ขบวนการสร้างปัสสาวะ                         ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ

         

1.       การกรองที่โกลเมรูลัส  (Glomerulus Filtration)

          การกรองจะเกิดที่โกลเมอรูลัส  โดยเลือดที่ผ่านเข้ามาในโกลเมอรูลัส จะถูกกรองภายใต้แรงดัน ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆไปยังช่องระหว่างโบวแมน แคปซูล น้ำที่กรองได้เรียกว่า ฟิลเตรท(Filtrate)   ซึ่งมีส่วนประกอบของความเข้มข้นคล้ายพลาสมายกเว้นไม่มีสารโมเลกุลใหญ่ คือ โปรตีน ในปกติไตกรองพลาสมาออกประมาณร้อยละ 21 ของเลือด    ที่ผ่านเข้าสู่ไต ดังนั้นใน 1 วัน เลือดที่ผ่านไตถึง 180 ลิตร  ก็ควรมีพลาสมาที่ถูกกรองออกประมาณ 40 ลิตร แต่ในสภาพจริงพลาสมาที่ผ่านมา กรองนี้ไม่ได้ถูกขับออกจากร่างกายทั้งหมดเพราะยังต้องผ่านสู่ท่อไตเพื่อเข้ากระบวนการสร้าง ปัสสาวะอีก 2 ขั้นตอนต่อไป    

          

                 2.       การดูดกลับของไต  (Tular Reabsorbtion) 

              คือขบวนการดูดกลับสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  จากท่อไตกลับเข้าสู่กระแสเลือดจะเกิดขึ้นตลอดความยาวของท่อเล็กๆ  ในหน่วยทำงานของไต  จะดูดซึมเอาน้ำและสารบางอย่างที่ร่างกายต้องการกลับ คืนสู่กระแสเลือด ประมาณ 178.5-179 ลิตร/วัน  จึงมีปัสสาวะออกมานอกร่างกายเพียง 1-1.5 ลิตรต่อวัน  การดูดซึมกลับจะเกิดขึ้นมากบริเวณหลอดฝอยไตส่วนต้น   สารที่ถูกดูดซึมกลับ ได้แก่ กลูโคส ฟอสเฟต  กรดแลคติก  กรดอะมิโน  วิตามินซีซิเตรท  (Citrate)   มอลเลท  (Malate)  โซเดียม  น้ำ ไบคาร์บอเนต  ยูเรีย  และคลอไรด์

 

            3.  การขับทิ้ง   (Tubular Secretion)

         

            คือขบวนการขับสารที่เป็นพิษหรือเกินความต้องการออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ท่อไต  สารที่ได้จากการกรอง และไม่สามารถดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือด   จะเหลืออยู่ในท่อเล็กๆ  ในหน่วยทำงานของไต สะสมรวมกันเป็นน้ำปัสสาวะ  สารเหล่านี้ได้แก่  ยูเรีย  กรดยูริค ครีอะตินิน  ของเสียจากกระบวนการเผาผลาญของโปรตีนและยาต่างๆ

หน้าต่อไป >>