< ย้อนกลับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประชาชนทั่วไปมักเรียก “ยาปฏิชีวนะ” ว่าเป็น “ยาแก้อักเสบ” และยังมีความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้น(1) จึงมักจะไปหาซื้อยากลุ่มนี้มาใช้เองโดยไม่มีข้อบ่งใช้หรือไม่สมเหตุสมผล ในการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมและตรงกับชนิดของโรคที่จะรักษา รวมถึงการได้รับยาครบตามปริมาณและในขนาดที่เหมาะสม ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้ยาปฏิชีวนะควรต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนใช้เสมอ(2) นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ยาปฏิชีวนะนานๆหรือพร่ำเพรื่อ ยังก่อให้เกิดผลเสียอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น
ภาพจาก : http://www.herbsociety.org.uk/files/5614/5951/8716/herb-society-logo.png
- เชื้อโรคมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้มีชีวิตรอดได้สูง พัฒนาการต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยา (เชื้อดื้อยา) ดังนั้นโรคจึงอาจไม่หาย หรือถึงแม้ดูว่าอาการดีขึ้น แต่อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังและยังคงสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้
- ยาจะไปฆ่าแบคทีเรียเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเสียไป และแบคทีเรียไม่ดีที่เคยถูกควบคุมสมดุลด้วยแบคทีเรียประจำถิ่นอาจรุนแรงขึ้น และโดยเฉพาะเชื้อราที่มีเป็นปกติในเยื่อเมือกและที่ผิวหนังจะแข็งแรงขึ้นจนก่อการติดเชื้อกับเราได้ เช่น เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบ (ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) หรือท้องเสีย เป็นต้น
- ยาปฏิชีวนะทุกชนิดมีผลข้างเคียงเสมอ มากหรือน้อยขึ้นกับชนิด ขนาด และวิธีกินยา และยังขึ้นกับความไวของแต่ละคนต่อยาด้วย ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะที่พบบ่อย เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ โรคหืด
- รบกวนการทำงานของยากลุ่มอื่น (ปฏิกิริยาระหว่างยา) เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดลดลง จนอาจเกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้
ซึ่งในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขนส่ง และยังส่งผลให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาต้องอยู่ในโรงพยาบาลโดยรวมนานขึ้น 3.24 ล้านวัน หรือเฉลี่ยคนละ 24-46 วัน สาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุสมผล
ปัจจุบันกลุ่มโรค 3 กลุ่มที่ไม่จำเป็นและไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ แต่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะสูงมากได้แก่ 1. ไข้หวัด เจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3. แผลเลือดออก ทั้งนี้เพราะมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มโรคเหล่านี้ไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เพื่อลดอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาและการเสียเงินโดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยอาจใช้แนวทางพิจารณาความรุนแรงของโรคเพื่อดูแลรักษาตนเองได้ดังนี้
< ย้อนกลับ