เชื้อไวรัสคืออะไร?
เชื้อไวรัส หรือไวรัส (Virus) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก เล็กกว่าแบคทีเรียหลายเท่า ขนาดของไวรัสเท่ากับ 20 ถึง 300 นาโนเมตร (Nanometre) และสามารถทำให้เกิดโรค (การติดเชื้อไวรัส หรือ โรคติดเชื้อไวรัส Viral infection) ในคนได้หลายโรค
ไวรัสมีลักษณะพิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่
1.ไวรัส ไม่สามารถอยู่เป็นอิสระด้วยตัวเองได้ จำเป็นจะต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของสัตว์อื่น ๆเสมอ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ต้องอาศัยอยู่ภายในเซลล์ตับและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นภายในเซลล์ ถ้าไวรัสออกมาอยู่นอกเซลล์จะไม่สามารถมีชีวิตและเพิ่มจำนวนได้
2.เราไม่สามารถมองเห็นเชื้อไวรัสด้วยตาเปล่าได้ และไม่สามารถมองเห็นด้วยกล้องจุล ทรรศน์ธรรมดา เครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เรามองเห็นตัวไวรัสได้คือ กล้องจุลทรรศน์อิ เล็กตรอน (Electron microscope) ซึ่งต้องใช้กำลังขยายนับแสนเท่าจึงจะมองเห็นตัวไวรัสได้
ไวรัสแบ่งเป็นกี่ชนิด?
การแบ่งชนิดของไวรัสสามารถทำได้หลายวิธี
1.แบ่งตามชนิดของสารพันธุกรรมนิวคลีอิคแอซิด (Nucleic acid) ที่ศูนย์กลางของตัวไว รัสเป็นดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA)
2.แบ่งตามรูปร่างของเปลือกโปรตีน (Capsid) ที่หุ้มอยู่รอบตัวไวรัส เช่น อาจมีรูปร่างหลายเหลี่ยม หรือเป็นเกลียว เป็นต้น
3.แบ่งตามชนิดของเปลือกไขมันรอบตัวไวรัส (Lipid envelope)
4.แบ่งตามลักษณะการแบ่งตัวของไวรัส
5.แบ่งตามอวัยวะที่ไวรัสเข้าไปอยู่และทำให้เกิดโรค เช่น
6.แบ่งตามพยาธิสภาพ (Pathology) ที่เกิดในร่างกายมนุษย์ เช่น
ไวรัสทำให้เกิดโรคได้อย่างไร?
ไวรัสทำให้เกิดโรคกับร่างกายได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.ไวรัสเกาะติดกับผนังเนื้อเยื่อหุ้มรอบเซลล์ (Cell membrane) โดยมากที่ผนังเนื้อเยื่อหุ้มรอบเซลล์จะมีตัวรับ (Receptor) ที่เหมาะกับโครงสร้างของไวรัสอยู่ด้วยจึงจะทำให้ไวรัสมาเกาะติดได้ง่าย
2. ไวรัสรุกรานเข้าภายในเซลล์และเริ่มแบ่งตัวเพิ่มปริมาณไวรัส
3. ไวรัสสร้างโปรตีนที่เหมาะกับสภาพความเป็นอยู่ของไวรัสภายในเซลล์ ทำให้ไวรัสที่เพิ่มขึ้นมานั้นสามารถอยู่อาศัยภายในเซลล์ได้
4.ไวรัสจะเข้าไปที่นิวเคลียสของเซลล์มนุษย์และบังคับให้ลดการสร้างโปรตีนปกติของเซลล์นั้นๆ แต่จะสร้างเฉพาะโปรตีนที่เป็นประโยชน์กับไวรัสเท่านั้น ทำให้การทำงานของเซลล์เพื่อประโยชน์ของร่างกายมนุษย์ลดลง เปรียบเสมือนการยึดครองศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของไวรัสนั่นเอง
5.ผลที่ตามมาคือ ไวรัสจะใช้เซลล์มนุษย์เป็นโรงงานผลิตไวรัสออกมาจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกันเซลล์นั้นก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติจึงเกิดอาการของโรคตามมา ต่อมาเมื่อถึงระยะหนึ่ง เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสนั้นก็จะตายหรือถูกทำลายไป ไวรัสที่อยู่ในเซลล์นั้นก็จะเคลื่อนย้ายเข้าไปยึดครองเซลล์อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงต่อไป ถ้าเซลล์ของอวัยวะนั้นๆถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาอย่างชัดเจน เช่น
6.การติดเชื้อไวรัสหลายชนิดโดยเฉพาะโรคหวัด (Common cold) โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคหัด (Measle) โรคอีสุกอีใส (Chicken pox) ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทาน (Antibody) ต่อเชื้อไวรัสได้ทันท่วงที โดยมากจะไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกาย ภูมิคุ้มกันต้านทานนี้สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้ และทำให้หายจากโรคได้โดยไม่เกิดความเสียหายต่ออวัยวะนั้นๆ
ไวรัสติดต่อได้อย่างไร? เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?
ไวรัสสามารถติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้ตามทางต่อไปนี้
1.ทางการหายใจ เช่น ไวรัสโรคหวัดธรรมดา ไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคไข้หวัดนก ไวรัสที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ ไวรัสโรคหัด จะติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม รดกัน การจูบกับคนที่เป็นโรค โดยไวรัสจะอยู่ในเซลล์ที่ปะปนออกมากับน้ำมูกน้ำลายที่ผู้ป่วยปล่อยออกมา
2.ทางเลือด เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบทุกชนิด เช่น ได้รับเลือดที่มีเชื้อจากการรับเลือด ถูกเข็มฉีดยาที่เปื้อนเลือดผู้ป่วยแทงที่ผิวหนัง เลือดที่มีเชื้อไวรัสเข้าปาก เป็นต้น
3.ทางการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือเป็นพาหะโรค (Carrier) ของเชื้อไวรัส เช่น โรคเอดส์ โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma acuminatum) ซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสเอชพีวี (HPV ,Human papilloma virus) เช่น การติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศหญิง โรคเริมอวัยวะเพศ (Herpes progenitalis) ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ชนิดที่ 2 (Herpes simplex virus type 2)
4.ทางการตั้งครรภ์โดยเชื้อไวรัสแพร่จากแม่ไปสู่ลูก เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อไวรัสซีเอ็มวี (CMV) โรคหัดเยอรมัน (Rubella)
5.ทางการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง เช่น ไวรัสโรคอีสุกอีใส (Chicken pox) โรคไข้ทรพิษ (Small pox)
6.ทางการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เช่น ไวรัสโรคกลัวน้ำ/โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) สามารถเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูก สุนัข แมว ค้างคาวกัด เป็นต้น
7.เข้าทางตา เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตาแดงจากไวรัส (Viral conjunctivitis)
8.ทางยุงกัด เช่น ไวรัสสมองอักเสบ (Japanese B encephalitis virus) ไวรัสโรคไข้ เลือดออกเด็งกี่ (Dengue hemorrhagic fever) ที่พบอยู่เสมอในประเทศไทยเป็นต้น
9.เข้าทางปาก เช่น ไวรัสโรต้า/โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา (Rota virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคท้องร่วง/ท้องเสีย (Diarrhea) และไวรัสโปลิโอ (Polio virus) ที่ทำให้เกิดโรคแขนขาลีบ/โรคโปลิโอ เป็นต้น
ไวรัสอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้อย่างไร? มีระยะฟักตัวนานเท่าใด?
ไวรัสอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้ โดยอาศัยอยู่ในเซลล์ของมนุษย์ โดยเฉพาะเซลล์ที่ไวรัสแต่ละชนิดมีความสามารถเข้าไปอยู่โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละโรค ยกตัวอย่างเช่น
เวลาไวรัสอยู่ในเซลล์ อาจจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่จนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุล ทรรศน์ธรรมดา (Light microscope) เรียกว่า อินคลูชั่นบอดี้ (Inclusion body) ซึ่งมักจะอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
ระยะฟักตัว ได้แก่ เวลานับตั้งแต่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกายจนถึงเวลาที่เกิดอาการของโรค จะแตกต่างกันไปในไวรัสแต่ละชนิด เช่น
โรคอะไรบ้างที่เกิดจากเชื้อไวรัส?
โรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย เช่น
กำจัดหรือฆ่าไวรัสให้ตายได้อย่างไร?
การกำจัดเชื้อไวรัสจากร่างกายมีวิธีการดังนี้ คือ
1.การใช้ยาต้านเชื้อไวรัส ซึ่งในปัจจุบันมีหลายชนิดเช่น ยาอะซัยโคลเวีย (Acyclovir) ใช้รักษาโรคเริม และโรคงูสวัดเป็นต้น
2.การให้เซรุ่ม/น้ำเหลืองของเลือด (Serum) ซึ่งผลิตในสัตว์ หรือ ด้วยเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา (Immunology,ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค) และมีสารภูมิต้านทาน (Antibody) ในน้ำ เหลืองนั้นๆอยู่แล้วฉีดให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อไวรัสทันทีที่ฉีดโดยไม่ต้องรอสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานเองเหมือนในการฉีดวัคซีน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยถูกสุนัขบ้ากัด แพทย์จะฉีดเซรุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าให้ทันทีในวันที่ถูกกัด ภูมิคุ้มกันต้านทาน หรือ Antibody นี้จะไปทำลายเชื้อไวรัสได้ทันที ทำให้ผู้ป่วยไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้
3.การฉีดวัคซีน ปัจจุบันนี้มีวัคซีนที่ฉีดแล้วร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานได้เองต่อเชื้อไวรัสหลายชนิดเช่น วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส โรคไข้ทรพิษ ไข้สมองอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หวัดใหญ่ แต่ก็มีไวรัสหลายชนิดที่ยังไม่มีวัคซีนฉีด ยกตัวอย่างเช่น โรคเอดส์ (แต่กำลังมีการศึกษาวิจัยอยู่) เป็นต้น
โรคติดเชื้อไวรัสมีอาการอย่างไร? ต่างจากติดเชื้อแบคทีเรียอย่างไร?
การติดเชื้อโรค ทั้ง ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา จะให้อาการได้คล้ายคลึงกัน ไม่มีอาการที่เป็นอาการจำเพาะ ทั้งนี้เพราะอาการของโรค มักขึ้นกับอวัยวะที่ติดโรค เช่น
สรุป อาการติดเชื้อไวรัส จึงมีได้หลากหลายอาการ ขึ้นกับว่าเป็นการติดเชื้อของอวัยวะ/ระบบใด และจากอาการเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแยกได้ว่า ผู้ป่วยติดเชื้ออะไร ไวรัส แบคที เรีย หรือ เชื้อรา
แพทย์วินิจฉัยได้อย่างไรว่าติดเชื้อไวรัส?
ขั้นตอนการวินิจฉัยโรคจากการติดเชื้อทุกชนิดรวมทั้งจากเชื้อไวรัสจะเหมือนกัน คือ แพทย์จะวินิจฉัยจาก อาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการสัมผัสโรค ประวัติที่อยู่อาศัย การเดินทาง และประวัติการระบาดของโรคในขณะนั้น การตรวจร่างกาย อาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจปัสสาวะ การตรวจอุจจาระ และการตรวจเลือด(เช่น ซีบีซี/CBC การตรวจเลือดดูการทำงานของ ตับ ไต และสารเกลือแร่) การตรวจย้อมเชื้อ การตรวจเพาะเชื้อ การตรวจเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆเพื่อดูสารภูมิต้านทาน (Antibody) หรือสารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ต่อเชื้อนั้นๆ และอาจมีการตรวจภาพอวัยวะที่มีการติดเชื้อ เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ และบางครั้งอาจต้องมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา ทั้งนี้การตรวจเพิ่มเติมจะด้วยวิธีใด ขึ้นกับ อาการผู้ป่วย ความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์
รักษาโรคไวรัสได้อย่างไร?
การรักษาหลักของโรคติดเชื้อไวรัส คือการรักษาประคับประคองตามอาการเพื่อให้ร่าง กายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเกิดขึ้น ซึ่งจะกำจัดไวรัสได้เอง ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ไวรัสทำให้เกิดโรคได้อย่างไร
ยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ ฆ่าได้แต่แบคทีเรีย ดังนั้นจึงไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรัก ษาโรคติดเชื้อไวรัส ยกเว้นมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน เช่น เป็นโรคหวัด และมีการติดเชื้อแบค ทีเรียซ้อนก่อให้เกิดไซนัสอักเสบ เป็นต้น
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ กินยาลดไข้ ยาแก้ปวด เมื่อมีอาการดังกล่าว การให้สารน้ำทางหลอดเลือดเมื่อกินได้น้อย การให้ออกซิเจนเมื่อมีอาการทางการหายใจเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ การกำจัดหรือฆ่าไวรัส ไวรัสบางชนิดที่มียาต้านไวรัส แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและที่ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิ คุ้มกันต้านทานโรคได้ดี ทั้งนี้เพราะไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้สูง จึงทำให้เกิดการดื้อยาได้ง่ายซึ่งจะส่งผลให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ดื้อยา และแพร่กระจายติดต่อผู้อื่นได้ง่ายเมื่อใช้ยาพร่ำเพรื่อ
โรคจากติดเชื้อไวรัสรุนแรงไหม?
โดยทั่วไป โรคติดเชื้อไวรัสมักรักษาได้หาย แต่ความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสจะเช่น เดียวกับในการติดเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย หรือ โรคเชื้อรา กล่าวคือ จะขึ้นกับ ชนิด/สายพันธุ์ของไวรัส ปริมาณไวรัสที่ร่างกายได้รับ สุขภาพเดิมของผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้าน ทานโรคต่ำ โรคมักรุนแรงกว่า เช่น
ควรดูแลตนเองอย่างไรเมื่อติดเชื้อไวรัส? ควรพบแพทย์เมื่อใด?
การดูแลตนเองเมื่อติดเชื้อไวรัส ที่สำคัญ คือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงลดโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน และลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น รวมทั้งการไม่คลุกคลีกับผู้อื่น
นอกจากนั้น คือ
ทำอย่างไรจึงป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้?
การป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้แก่
1.ที่สำคัญที่สุด คือ ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากคนที่กำลังเป็นโรคโดยใช้วิธีการป้องกันและรักษาความสะอาดของตนเองเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เช่น
- การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อเข้าทางลมหายใจ
- การรับประทานเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
- ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร
- ล้างมือทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
- ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยด้วยมือเปล่า เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใสเพราะอาจติดโรคได้
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนหนาแน่นหรือไม่มีที่ระบายอากาศที่เพียงพอ
- มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและใช้ถุงยางอนามัยเสมอ
- ไม่ใช้สาร/ยาเสพติดทุกชนิด
- ไม่ทำให้ร่างกายอ่อนแอด้วยการอดหลับอดนอนหรือเที่ยวกลางคืน
- ไม่ดื่มเหล้าและไม่สูบบุหรี่
- อย่าจูบปากกับคนที่ไม่รู้จักหรือไม่รู้ว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
- อย่าใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
- นอนกางมุ้งอย่าให้ยุงลายกัด
- ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน
- ถ้ามีผู้ป่วยในบ้านควรแยกผู้ป่วยในห้องส่วนตัวห่างจากคนอื่นๆเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
- และควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัขและแมวทุกตัวในบ้าน
2.อีกวิธีคือ การฉีดวัคซีนป้องกัน เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคอีสุกอี ใส โรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B virus) โรคหัดเยอรมัน โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคคางทูม หยอดวัคซีนโปลิโอทางปากในเด็ก และปลูกฝีป้องกันโรคไข้ทรพิษ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ทุกชนิด เพราะมีอีกหลายโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเช่น โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก นอกจากนั้นบางคนได้วัคซีนแล้วร่างกายไม่ยอมสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานก็มีอยู่บ่อยๆ หรือบางทีได้วัคซีนแล้ว แต่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานไม่ทัน เช่น โรคพิษสุนัขบ้าในบางรายที่ระยะฟักตัวสั้นมากก็จะเป็นโรคก่อนที่จะป้องกันได้ เป็นต้น |