- คู่สมรสที่ได้รับการตรวจหาสาเหตุจนครบ และได้รับการรักษาตามสาเหตุ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มที่มีซีสต์ (cyst)หรือเนื้องอกมักได้รับการส่องกล้องผ่าตัด ส่วนกลุ่มที่ไม่ต้องผ่าตัดมักได้รับการรักษาด้วยวิธีคัดเชื้อฉีดเข้าโพรง มดลูก หรือ IUI (intrauterine insemination) คู่สมรสไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งจะสามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่ 4 - 6 เดือนแล้ว ยังไม่ตั้งครรภ์ อาจต้องได้รับการรักษาด้วยเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ ( Assisted Reproductive Technology; ART)
1. การกระตุ้นรังไข่ จะเริ่มทำเมื่อมีรอบเดือนมาโดยให้ยากระตุ้น ซึ่งอาจเป็นชนิดรับประทาน ฉีด หรือพ่นเข้าจมูก และอื่นๆ โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ระยะที่ให้ยากระตุ้นรังไข่นั้น ส่วนมากนานประมาณ 7 ถึง 10 วัน และสามารถตรวจดูการตอบสนองของรังไข่ได้ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นหลัก รวมทั้งการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนร่วมด้วย จนเมื่อได้ไข่ที่มีขนาดใหญ่จำนวนมากพอแล้วจะกระตุ้นการตกไข่โดยการฉีด hCG จนผ่านไปประมาณ 34-36 ชั่วโมงก็จะทำการเจาะไข่
2. การเจาะไข่ ทำได้โดยใช้เข็มเจาะถุงไข่แล้วดูดเอาไข่ภายในถุงออกมา วิธีที่นิยมในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ
2.1 การเจาะผ่านทางผนังหน้าท้อง โดยการอาศัยกล้องตรวจช่องท้อง ซึ่งสามารถเห็นรังไข่ได้ชัดเจน แล้วใช้เข็มเจาะดูดไข่โดยตรง
2.2 การเจาะผ่านผนังช่องคลอด โดยการอาศัยเครื่องอัลตร้าซาวด์ ซึ่งมีเข็มเจาะและดูดไข่ติดอยู่ที่หัวตรวจทางช่องคลอด
3. การย้ายเซลล์ไข่และอสุจิเข้าสู่ท่อนำไข่ ส่วนใหญ่มักใช้การส่องกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) เป็นวิธีหลัก โดยไข่ที่ถูกเลือกไว้ แล้วจะถูกดูดเข้ามาในสายยางที่ใช้สำหรับการย้ายเซลล์สืบพันธุ์เข้าท่อนำไข่ รวมกับเชื้ออสุจิที่เตรียมไว้ สำหรับวิธีการอื่นๆ อาจทำโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องเป็นแผลเล็กๆ แล้วนำท่อนำไข่ขึ้นมา จากนั้นจึงฉีดไข่และอสุจิที่เตรียมไว้เข้าท่อนำไข่โดยตรง แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน
4. การให้ฮอร์โมนในระยะหลังการทำกิฟท์ โดยแพทย์จะให้ฮอร์โมนช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน
5. การทดสอบการตั้งครรภ์ โดยการตรวจระดับ hCG ในกระแสเลือดประมาณ 12 วันหลังจากการทำกิฟท์
|