(กลับสู่หน้าหลัก)
วัณโรค(Tuberculosis)-ความล่าช้าและผลกระทบ

ความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการจนถึงระยะเวลาผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถแบ่งความล่าช้าออกได้ 4 ระยะ ดังนี้

  1. ความล่าช้าจากผู้ป่วย '(Patient's Delays)'คือ' ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับวัณโรค และสิ้นสุดในวันสุดท้ายก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์
  2. ความล่าช้าจากระบบการส่งต่อ '(Referral’s delays)'คือ' เป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการเริ่มแรกมารับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขครั้งแรก แล้วได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทำการวินิจฉัยวัณโรค
  3. ความล่าช้าจากการวินิจฉัย '(Diagnosis’s delays)'คือ' ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารับการตรวจวินิจฉัยที่ระบบบริการสุขภาพของรัฐครั้งแรก และสิ้นสุดเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยป่วยเป็นวัณโรค
  4. ความล่าช้าจากการรักษา '(Treatment’s delays)'คือ' ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย และสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้นรักษาครั้งแรก

ผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการรักษา ประกอบด้วย 2 ระดับ คือ

  1. ระดับตัวบุคคล 'คือ' ผลกระทบของการเกิดโรคต่อร่างกายของผู้ป่วยเอง เช่น อาการหอบเรื้อรังแม้รักษาหายแล้ว เป็นต้น
  2. ระดับสังคม 'คือ' ผลกระทบที่บุคคลที่ป่วยจะนำเชื้อโรคไปแพร่สู่สังคม ทำให้เกิดการระบาดของโรคยากที่จะสามารถควบคุมได้

แหล่งข้อมูล:

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84

กลับไปสู่ด้านบน

ความล่าช้าและผลกระทบ