โรคอ้วน(obesity)

หมายถึง ความอ้วนที่มากเกินไป มีน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรจะเป็น ไม่ใช่อ้วนกำลังดี อ้วนพองามหรือกำลังสวย คำว่า อ้วน ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง มีเนื้อและไขมันมาก โต อวบ ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่น่าปรารถนาของคนทั่วๆ ไป

  • สาเหตุภายนอก

เป็นสาเหตุใหญ่ที่เกิดโรคอ้วน เพราะตามใจปากมากเกินไป กินมากเกินความต้องการของร่างกาย อาหารที่กิน เนื้อ ไขมัน หรือแป้ง ของหวาน สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ถ้ามีมากเกินไปก็จะกลายเป็นไขมันพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ออกกำลังกายน้อย กินแล้วนอน

  • นิสัยในการรับประทาน คนที่มีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี เรียกว่า กินจุบกินจิบไม่เป็นเวลา
  • ขาด การออกกำลังกาย ถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ได้ออกกำลังกายบ้างก็อาจทำให้อ้วนช้าลง แต่หลายคนไม่ได้ยืดเส้นยืดสาย ไม่ช้าจะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกาย
  • สาเหตุภายใน

พบได้จากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อไทรอยด์ ทำให้มีไขมันตามบริเวณต้นแขน ต้นขา และหน้าท้อง

  • จิตใจและอารมณ์ มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่การกินอาหารขึ้นอยู่กับจิตใจและอารมณ์ เช่น กินดับความโกรธ ดับความคับแค้นใจ กลุ้มใจ กังวลใจ หรือดีใจ บุคคลเหล่านี้ จะรู้สึกว่าอาหารที่ทำให้จิตใจสงบ จึงหันมายึดเอาอาหารไว้เป็นที่พึ่งทางใจ ตรงกันขามกับบางคนกลุ้มใจเสียใจก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
  • ความไม่สมดุลระหว่างความรู้สึกอิ่มกับความหิว เมื่อใดที่ความอยากเพิ่มขึ้น เมื่อนั้นการกินก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้นเรียกว่า กินจุ ในที่สุดก็อ้วนเอาๆ
  • กรรมพันธุ์

ซึ่งพบได้น้อย กรรมพันธุ์นี้พิสูจน์ไม่ได้ แต่ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคน ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 40

  • โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง

  • จากการกินยาบางชนิด

ก็ส่งผลกระทบให้อ้วน ผู้ป่วยบางโรคได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือกินยาคุมกำเนิดก็ทำให้อ้วนง่ายเช่นกัน

  • เพศ

เพศหญิงนั้นมักอ้วนกว่าเพศชาย ก็ธรรมชาติเธอมักสรรหาจะกิน กิน และกิน ตลอดเวลา อีกทั้งตอนตั้งครรภ์ ก็ต้องกินมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและลูกน้อยในครรภ์ แต่หลังจากคลอดลูกแล้ว บางรายก็ลดน้ำหนักลงมาได้ แต่บางรายก็ลดไม่ได้ ผู้หญิงทำงานน้อย ออกกำลังน้อยกว่าชาย ผู้หญิงอ้วนมากกว่าผู้ชาย 4 : 1

  • อายุ

เมื่อมากขึ้น โอกาสโรคอ้วนถามหาก็ง่ายขึ้น เนื่องจากพออายุมาก มีความเชื่องช้า ใช้พลังงานน้อยลง กินมากกว่าใช้ หญิงและชายที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มักจะอ้วนง่าย

ประเภทของความอ้วน

  • อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล (apple-shape obesity) หรือ อ้วนลงพุง (central obesity)

คือคนอ้วนที่มีรอบเอวใหญ่กว่ารอบสะโพก เกิดจากมีไขมันสะสมมากในช่องท้องและอวัยวะภายใน ไขมันที่อยู่ในอวัยวะภายในนี้จะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง

  • อ้วนแบบลูกแพร์ (pear-shape obesity) หรืออ้วนชนิดสะโพกใหญ่

ส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่พบในเพศหญิง โดยจะมีไขมันสะสมอยู่มากบริเวณสะโพกและน่อง อ้วนลักษณะนี้ยากต่อการลดน้ำหนัก แต่โอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ จะน้อยกว่าชนิดแรก

  • อ้วนทั้งตัว (generalized obesity)

ได้แก่ คนอ้วนที่มีไขมันทั้งตัวมากกว่าปกติกระจายตัวอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยรอบ มีทั้งลงพุงและสะโพกใหญ่ รวมถึงมีโรคแทรกซ้อนทุกอย่างดังกล่าว และโรคที่เกิดจากน้ำหนักตัวมากโดยตรง เช่น โรคทางไขข้อ ปวดข้อ ข้อเสื่อม ปวดหลัง เหนื่อยง่าย หายใจลำบากเพราะไขมันสะสม ทำให้ระบบหายใจทำงานติดขัด

 

 

 

 

Credit: สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, healthcorners

ย้อนกลับ

หน้าถัดไป

กลับขึ้นด้านบน