การรักษาและการป้องกันโรคฟันผุ
การรักษาโรคฟันผุ
ฟันผุมีการรักษาได้ต่างๆ กันไป ตามระยะการเกิดโรคก็คือ การใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ หรือการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จะช่วยรักษา ฟันที่เกือบจะผุ ให้กลับสู่ปกติได้ โดยแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นประจำ และทิ้งยาสีฟัน นั้นให้คงอยู่ในช่องปากนานขึ้นไม่น้อยกว่า 2 นาที แล้วค่อยบ้วนทิ้ง ก็จะช่วยให้ฟันไม่ผุต่อไปได้ (แต่ สำหรับเด็กเล็กๆ ต้องระวังไม่ให้กลืนยาสีฟัน เพราะอาจเกิดผลเสียได้) คนที่มีการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือติดแน่น หรือผู้ที่ใส่ เครื่องมือเพื่อการจัดฟัน หากไม่ได้ดูแลทำความสะอาดฟันอย่างดี จะทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ได้ง่าย เกิดความเสี่ยงต่อ การเป็นโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบได้เช่นเดียวกัน
อุดฟัน เมื่อฟันผุเห็นเป็นรูชัดเจน อยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน
รักษารากฟัน เป็นการรักษาโรคฟันผุ ที่มีการผุลุกลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันแล้ว
ถอนฟัน เมื่อการอักเสบลุกลามไปมาก ไม่เหลือเนื้อฟันที่จะสามารถรักษาฟันซี่นั้น ไว้ได้ต่อไป
การอุดฟัน มีวัสดุ 2 แบบ
1. การอุดฟันด้วยวัสดุอุดที่เป็นโลหะ (อมัลกัม)
2.การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

การดูแลตนเองหลังการอุดฟัน
- การอุดฟันด้วยวัสดุอุดที่เป็นโลหะ (อมัลกัม)
1.ห้ามเคี้ยวข้างที่อุดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจากวัสดุยังแข็งตัวไม่เต็มที่
2.ระยะแรกภายหลังการอุดฟัน มักพบอาการเสียวฟันเมื่อสัมผัสของร้อนหรือของเย็น อาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเอง ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล แต่หากมีอาการปวดร่วมด้วยควรพบทันตแพทย์โดยเร็ว
3.ควรทดลองเคี้ยว หากเคี้ยวแล้วรู้สึกสูง ค้ำ สะดุด หรือใช้เคี้ยวไม่ได้ ควรพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจแก้ไขหรอขัดแต่ง ให้สามารถใช้เคี้ยวได้
4.ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยาชาเพื่อลดการเสียวฟันขณะกรอฟัน กรณีฟันบนจะชาเฉพาะจุดที่ทำ หากเป็นฟันล่างมักจะชาเป็นบริเวณกว้างกว่า ยาชามีฤทธิ์ประมาณ 1-2 ชม.
5.ฟันที่เคยมีอาการไม่ปกติ หรือฟันที่ผุลึกมาก ภายหลังการอุด อาจมีอาการปวดหรือเสียวรุนแรง เป็นเพราะรอยผุลึกจนใกล้ทะลุ หรือทะลุถึงโพรงฟันแล้ว จึงควรพบทันตแพทย์โดยเร็วเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
- การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
1.ภายหลังการอุดเสร็จ สามารถใช้เคี้ยวได้เลย
2.กรณีอุดบริเวณปลายฟันหน้า ควรเลี่ยงการใช้ฟันหน้าเคี้ยวโดยตรง เพราะเรซิ่นฟันหน้าให้ความสวยงาม แต่ไม่แข็งแรงพอที่จะใช้เคี้ยว
3.วัสดุสีเหมือนฟันจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ หรือเหลือง เมื่ออุดเป็นเวลานาน
4.หากเคี้ยวแล้ว รู้สึกสูง ค้ำ สะดุด มีอาการเสียวหรือปวด ควรพบทันตแพทย์โดยเร็วเพื่อตรวจแก้ไข หรือขัดแต่งให้สามารถใช้เคี้ยวได้
5.ฟันที่เคยมีอาการไม่ปกติ หรือฟันที่ผุลึกมาก อาจมีอาการปวดหรือเสัยวรุนแรงภายหลังการอุด เป็นเพราะรอยผุลึกจนใกล้หรือทะลุโพรงฟัน จึงควรพบทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การป้องกันฟันผุ
– แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์หรือมีคุณสมบัติช่วยลดการก่อตัวของคราบแบคทีเรียได้
– การใช้ไหมขัดฟัน หรือ แปรงทำความสะอาดฟอกฟันเป็นประจำ เพื่อทำความสะอาดบริเวณซอกฟันหรือบริเวณที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
– การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ออกฤทธิ์ในต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
– บริโภคอาหารให้เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรต
– เข้าพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เป็นประจำ
– การเคลือบหลุมร่องฟัน ก็เป็นอีกวิธีที่ ทันตแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ
แหล่งอ้างอิง : http://www.ldcdental.com/2016/05/11/caries/