ชนิดของ stem cell & แหล่งของ stem cell |
เซลล์ต้นกำเนิดแบ่งแยกได้หลายชนิดตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1. Totipotent Stem Cell คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากตัวอ่อน ซึ่งมีศักยภาพสูงสุด สามารถพัฒนาเป็นเซลล์ชนิดใดก็ได้ แต่ขณะเดียวกันแหล่งที่มาของเซลล์ต้นกำเนิดนี้ ก็มีข้อจำกัดด้านศีลธรรมที่รุนแรงมาก จึงเหมาะที่จะนำไปศึกษาวิจัยและพัฒนาในด้านการทำโคลนนิ่งเท่านั้น 2. Pluripotent Stem Cell คือเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากเซลล์ต้นกำเนิดโตเต็มวัย (Adult Cell) บางประเภท เช่น เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก (Bone Marrow Cell) เซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดสายรก (Cord Blood Stem Cell) เซลล์ต้นกำเนิดนี้จะมีศักยภาพน้อยกว่าเซลล์ต้นกำเนิดชนิดแรกแต่ก็ยังมีความเป็นตัวอ่อนมากกว่าเซลล์ต้นกำเนิดอื่นๆ จึงสามารถเจริญไปเป็นเซลล์ต่างๆได้หลายชนิด 3. Multipotent Stem Cell คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากเซลล์ต้นกำเนิดโตเต็มวัย (Adult Stem Cells) เช่น เซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์ผิวหนัง เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้จะมีศักยภาพน้อยกว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่กล่าวไปแล้วทั้งสองชนิด เพราะธรรมชาติได้ถูกกำหนดไว้แล้วว่าต้องพัฒนาไปเป็นเซลล์ หรืออวัยวะประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ และไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดอื่นได้
1. เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน (Embryonic Stem Cell) สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทย่อย ดังนี้1.1 เซลล์ที่เกิดจากการผสมระหว่างอสุจิกับไข่จนเป็นตัวอ่อน นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วันหลังปฏิสนธิ เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้นับว่ามีศักยภาพสูงสุด ในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ใดก็ได้ มาจากสามแหล่งใหญ่ๆคือ - ตัวอ่อนที่ได้จากการโคลนนิ่ง - ตัวอ่อนที่เหลือจากการทำเด็กหลอดแก้ว - ตัวอ่อนที่ได้จากการทำแท้ง 1.2 เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้มาจากเซลล์สืบพันธุ์ของทารกในครรภ์ในระยะแรก ก่อนที่เซลล์สืบพันธุ์จะพัฒนาไปเป็นไข่หรืออสุจิ หรือในช่วงที่ครรภ์อายุได้ 5-9 สัปดาห์ (Fetal Germ Stem Cell) ซึ่งได้มาจากเซลล์ของตัวอ่อนที่เกิดการแท้งระหว่างตั้งครรภ์ในระยะแรก A six week embryonic age or eight week gestational age intact Embryo
a real photo for a 47 days old embryo 2.เซลล์ต้นกำเนิดโตเต็มวัย (Adult Stem Cell)สเต็มเซลล์จากร่างกาย เป็นสเต็มเซลล์ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นได้จำกัด เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น เราเรียกสเต็มเซลล์พวกนี้ว่า multipotent stem cells โดยพบว่า สเต็มเซลล์จากร่างกายที่ได้มาจากระบบหรือเนื้อเยื่อส่วนใด ก็จะสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ของระบบหรือเนื้อเยื่อนั้นๆ เท่านั้น ตัวอ่างเช่น สเต็มเซลล์ที่ได้มาจากระบบกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อนำมาเพาะเลี้ยง เซลล์ก็จะพัฒนาไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเท่านั้น แต่ก็มีสเต็มเซลล์จากร่างกายบางชนิดที่สามารถพัฒนาเซลล์กลายเป็นเซลล์อื่นที่ไม่ใช่เซลล์เดิมได้ หรือเรียกความสามารถนี้ว่า plasticity หรือ trandsdifferentiation ตัวอย่างเช่น สเต็มเซลล์จากสมองสามารถที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้ อย่างไรก็ดี พัฒนาเซลล์กลายเป็นเซลล์อื่นที่ไม่ใช่เซลล์เดิมได้ พบว่า จะเกิดในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเพียงบางสปีชีส์เท่านั้น และปริมาณสเต็มเซลล์ที่จะทำให้สำเร็จได้จะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สเต็มเซลล์จากร่างกายจะพบในบางที่ เช่น สมอง ไขกระดูกสันหลัง หลอดเลือด ลำไส้เล็ก หัวใจ และตับ เป็นต้น โดยสเต็มเซลล์จากร่างกายที่ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มาเนิ่นนาน คือ สเต็มเซลล์จากไขกระดูก ที่ใช้ในการปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplantation) ปัจจุบันแพทย์นิยมนำสเต็มเซลล์จากไขกระดูกมาใช้ในการรักษาโรคลิวคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) ควบคู่ไปกับการฉายรังสีและเคมีบำบัด (ที่มา คลิกที่รูปได้ค่ะ) สเต็มเซลล์จากร่างกาย มีข้อเสียตรงที่เพิ่มจำนวนได้ยาก ทำให้การที่จะผลิตเซลล์นี้ให้ได้ปริมาณมาก ๆ ในห้องปฏิบัติการจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย
3. สเต็มเซลล์จากรก (placenta) และสายสะดือ (umbilical cord)
ที่มา https://sites.google.com/site/itsstemcells/2-stem-cell/2
|