ปัจจัยเสี่ยงของฝ่ายหญิง
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (ต่ำกว่า 17-18 ปี) ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกลายรูปของเซลล์ปากมดลูกมาก และในช่วงนี้จะมีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเชื้อเอชพีวี
- คลอดบุตรจำนวนหลายคนหรือมากกว่า 3 คนขึ้นไป (จากรายงานพบว่า จำนวนครั้งของการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น 2-3 เท่า)
- น้ำหนักตัวเกิน
- การสูบบุหรี่
- มีคู่นอน หรือมีสามีหลายคน
- เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อเอชไอวี
- มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน หรือเกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อคลามีเดีย (ทำให้เป็นหนองในเทียม), หนองใน, ซิฟิลิส, เริม, เอชไอวี (ทำให้ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ และติดเชื้อเอชพีวีได้ง่าย) เป็นต้น
- เคยมีความผิดปกติหรือเกิดการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูก โดยตรวจพบจากการตรวจภายใน และจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ตรวจแปปสเมียร์)
- การกินยาเม็ดคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปีขึ้นไป (จากข้อมูลพบว่าถ้ากินยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี และ 10 ปี จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 1.3 เท่า และ 2.5 เท่า ตามลำดับ)
- มีประวัติการใช้ยาฮอร์โมนเพศชนิด Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันการแท้งบุตร
- การรับประทานผักและผลไม้น้อย หรือจากการขาดสารอาหารบางชนิด โดยพบว่าผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดที่พบบ่อย รวมทั้งมะเร็งปากมดลูกได้สูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้มาก
- อาจเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้เข้าถึงบริการทางสาธารณสุขได้ไม่ทั่วถึง (เนื่องจากพบโรคนี้ได้ทางภาคเหนือของประเทศ)
- ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน
- อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือจากการที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรค
ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย
- ฝ่ายหญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาต
- ฝ่ายหญิงที่แต่งงานกับฝ่ายชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
- ฝ่ายชายมีคู่นอนหลายคน
- ฝ่ายชายมีประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุยังน้อย
- ฝ่ายชายเคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองใน
- มีประวัติเป็นมะเร็งสืบพันธุ์อวัยวะเพศชาย
- ฝ่ายชายมีคู่นอนที่มีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูก
|