Magnetic Resonance Imaging

   
 
กลับสู่หน้าหลัก
   
 

MRI คืออะไร

MRI ประกอบด้วยอะไรบ้าง

MRI ทำงานอย่างไร ให้ผลลัพธ์เช่นใด

MRI มีประโยชน์และโทษ อย่างไร

   
 

MRI คืออะไร ?

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา อาศัยคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กของไฮโดรเจนอะตอม (Hydrogen, H) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่อยู่ภายในร่างกายมนุษย์ เช่น โมเลกุลของน้ำ (H2O) เป็นต้น เมื่อผู้รับการตรวจเข้าไปอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจะส่งสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีความถี่จำเพาะ (Radiofrequency) เข้าไปกระตุ้นระบบอวัยวะที่จะตรวจ เมื่ออวัยวะนั้นๆ ถูกกระตุ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานตามขบวนการทางฟิสิกส์ ที่เรียกว่า การกำทอน (Resonance) หลังจากหยุดกระตุ้นไฮโดรเจนอะตอมภายในร่างกายมีการคายพลังงาน จะมีอุปกรณ์รับสัญญาณที่ได้ออกมา จากนั้นแปลงเป็นสัญญาณภาพบนจอภาพ 

mri

กลับสู่ด้านบน

   
 
ส่วนประกอบของMRI
เครื่อง MRI ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
       
  1. แม่เหล็กที่มีกำลังสูงมาก แม่เหล็กที่นำมาใช้มีได้หลายแบบ ในระยะแรกได้ใช้การสร้างแม่เหล็กโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ไหลเข้าไปในขดลวด แม่เหล็กชนิดนี้มีน้ำหนักประมาณ 5 ตัน แต่สนามแม่เหล็กมีความแรงน้อยคือ 0.2 เทสลา ต่อมาจึงได้ สร้างเป็นแม่เหล็กถาวร แต่มีน้ำหนักมากคือประมาณ 100 ตัน ความแรงของสนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้นเป็น 0.3-0.6 เทสลา ดังนั้น ในระยะหลังจึงได้พัฒนาเป็นแม่เหล็กที่เป็นแบบ ซูเปอร์คอนดัคทิพแมกเนต (Superconductive magnet) โดยใช้ขดลวดซึ่งทำด้วยโลหะผสม เช่น นิโอเบียม ไททาเนียม : เอ็น.บี.ที.ไอ. (Niobium Titanium : NbTi) แต่ให้ทำงานที่อุณหภูมิต่ำมากคือ -280องศาซ. จึงต้องใช้ฮีเลียมและไนโตรเจนเหลว แม่เหล็กประเภทนี้มีกำลังสูงมาก คือ สามารถสร้างให้มีกำลังสูงถึง 2.0 เทสลาได้ (1 tesla = 10,000 times of gravity, USA’s standard)
  2. ขดลวดที่ปล่อยสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนระดับได้ ขดลวดนี้บรรจุอยู่ในโพรงของแม่เหล็กที่มีกำลังสูง และอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ควบคุมสวิตช์เพื่อเปิดปิดให้ไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดดังกล่าว เพื่อเปลี่ยนระดับของแรงแม่เหล็กตามต้องการ ขดลวดนี้ทำหน้าที่สร้าง สนามแม่เหล็กให้แก่เนื้อเยื่อที่ต้องการจะสร้างภาพ โดยการปรับสนามแม่เหล็กทำให้สามารถสร้างภาพที่ระนาบหนึ่งระนาบใดตามต้องการ อาจเป็นภาพตัดขวาง ตัดตามยาว หรือตัดตามเฉียง โดยไม่ต้องเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยและต้องการสร้างภาพตัดให้เป็นแผ่นหนาและบางได้
  3. ขดลวดที่ทำหน้าที่ปล่อยและรับคลื่นวิทยุ ขดลวดนี้ทำหน้าที่ปล่อยคลื่นวิทยุเพื่อส่งเข้าไปยังบริเวณอวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพ เช่น อาจวางไว้ที่ศีรษะหรือแขนขา และมีขดลวดที่ทำหน้าที่รับคลื่นวิทยุเพื่อนำไปสร้างภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ขดลวดที่ทำหน้าที่ส่งและรับคลื่นวิทยุอาจสร้างเป็นขดแยกกัน หรืออาจใช้ขดเดียวกันก็ได้
  4. คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้จากการปล่อยของเนื้อเยื่อมาสร้างภาพโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปเครื่องจะสร้างภาพโดย การตรวจรับข้อมูลของคลื่นวิทยุจากเนื้อเยื่อประมาณ 256 แห่ง การเพิ่มความชัดเจนของภาพ (image contrast) ของเครื่อง MRI นั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะจำเพาะของเนื้อเยื่อ

MRICOM

กลับสู่ด้านบน

   
 

MRI ทำงานอย่างไร และให้ผลลัพทธ์เช่นใด ?

ในการตรวจด้วยเครื่อง MRI ผู้ป่วยต้องเข้าไปนอนในเครื่อง ลักษณะคล้ายอุโมงค์ ซึ่งจะมีความกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร และจะมีการใส่อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างไป ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ เช่นการตรวจระบบสมอง จะมีอุปกรณ์รับสัญญาณภาพครอบอยู่บริเวณศีรษะ กรณีตรวจกระดูกสันหลัง อุปกรณ์รับภาพจะวางอยู่ด้านหลังผู้ป่วย เป็นต้น ผู้ป่วยต้องนอนในอุโมงค์อย่างน้อย 30 นาที ถึงชั่วโมง ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ การตรวจจะแบ่งเป็นชุดๆ ในแต่ละชุดใช้เวลานาน 3-5 นาที โดยประมาณ ในบางการตรวจ เช่น ระบบหัวใจและช่องท้อง ผู้ป่วยจะต้องมีการกลั้นหายใจ ในแต่ละชุดประมาณ 15-20 วินาที และจะต้องมีการเตรียมตัวเฉพาะและการงดรับประทานยาประจำบางชนิด ก่อนเข้ารับการตรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งขั้นตอนในวันที่มานัดตรวจ

การตรวจ MRI สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ระบบสมอง ระบบช่องท้องทั้งหมด ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ เป็นต้น แต่จะมีข้อด้อยโดยเฉพาะการตรวจอวัยวะปอดและลำไส้

bbdoc

กลับสู่ด้านบน

   
 

ประโยชน์ของการตรวจ MRI ที่มีต่อแพทย์
การตรวจ MRI จะเป็นการตรวจที่ให้ความแม่นยำและถูกต้องสูง มีประโยชน์มากสำหรับแพทย์ ในการวินิจฉัยโรค เพื่อนำมาใช้การรักษาและติดตามผลการรักษา

การตรวจ MRI หนึ่งครั้ง ทำให้ทราบความผิดปกติของร่างกายทั้งหมดหรือไม่
ไม่ใช่ การตรวจ MRI หนึ่งครั้ง จะเป็นการตรวจระบบอวัยวะหนึ่งระบบ เช่นการตรวจสมอง จะแสดงภาพของเนื้อเยื่อสมอง และอวัยวะอื่นๆ บริเวณสมอง จะไม่สามารถเห็นอวัยวะบริเวณช่องอกหรือช่องท้องได้ ดังนั้นการตรวจแต่ละครั้ง จะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ที่ทำการรักษาก่อนเข้ารับการตรวจ MRI โดยแพทย์จะเขียนใบส่งตรวจให้ว่าต้องการตรวจอวัยวะส่วนใด พร้อมแจ้งประวัติการตรวจร่างกายและการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับรังสีแพทย์ ในการแปลผลภาพ MRI ใช้ประกอบ

mriremribody

   
 
กลับสู่ด้านบน
กลับสู่หน้าหลัก
ติดต่อเรา