สืบค้นเพิ่มเติม About us
มารู้จักไข้หวัดใหญ่กันนะ !

MENU

ชนิดของสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่
การติดต่อของโรค
วิธีการรักษา

วิธีการป้องกันโรค

อ้างอิง

 

ไข้หวัดใหญ่คืออะไร ?

คือโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไช้หวัดใหญ์ influenza ที่ระบบทางเดินหายใจ

แบบเฉียบพลัน อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ

ไอและรู้สึกเหนื่อย อาการเหล่านี้ตรงแบบเริ่มสองวันหลังได้รับไวรัสและส่วนมากอยู่นานไม่เกินสัปดาห์

ทว่า อาการไออาจกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ได้ ในเด็กอาจมีคลื่นไส้อาเจียนแต่ไม่ใช่อาการปกติ

ในผู้ใหญ่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเกินบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อ

อีกโรคหนึ่ง ที่บ้างเรียกผิด ๆ ว่าเป็น "ไข้หวัดลงกระเพาะ" (stomach flu) หรือ "ไข้หวัด 24 ชั่วโมง"

(24-hour flu) อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจมีปอดบวมจากไวรัสปอดบวมจากแบคทีเรีย

ตามโพรงอากาศ (sinus) ติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น โรคหอบหืด หรือ

ภาวะหัวใจล้มเหลว

Back to MENU

ชนิดของสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ ได้แก่

1. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

สายพันธุ์ C มีความรุนแรงน้อย และไม่ทำให้เกิดการระบาด จึงไม่นับรวมอยู่ในกลุ่มของไข้หวัดใหญ่

แต่สำหรับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A นั้น สามารถแบ่งแยกออกมาย่อยๆ ได้อีกมากมาย

ตามที่เราเห็นกันในข่าว เช่น A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2)

ตามความแตกต่างของโปรตีนของไวรัสที่เรียกว่า hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N)

ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่นั้นๆ นั่นเอง

สายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จนเป็นสาเหตุให้มีคนเสียชีวิต

คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ชนิด H1N1 และ H5N1 เป็นต้น

Back to MENU

การติดต่อของโรค

ติดต่อกันจากการรับเชื้อไวรัสผ่านอาการไอ จาม พูด ลมหายใจ ของผู้ที่ติดเชื้อ

รวมไปถึงน้ำลาย จากการใช้ช้อนแก้วเดียวกัน หรือแม้กระทั่ง การสัมผัสข้าวของที่ผู้ป่วยสัมผัส

หลังจากการใช้มือป้องปากเวลาจามหรือไอด้วย

Back to MENU

วิธีการรักษา

  • ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่ไม่มียารักษาโดยตรง ทำได้แต่เพียงรักษาตามอาการที่มีเท่านั้น เช่น

มีไข้ก็ให้ยาลดไข้ เจ็บคอก็ให้ยาแก้เจ็บคอ เป็นต้น แพทย์จะรักษาตามอาการ พร้อมกับติดตาม

อาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงแพทย์จึงค่อยพิจารณาการใช้ยาที่กดการเพิ่มจำนวน

ของไวรัส คือ Amantadine หรือ Rimantadine

  • ให้นอนพักไม่ควรออกกำลังกาย
  • ให้ดื่มน้ำ ผลไม้ หรือน้ำซุป หรืออาจจะดื่มน้ำเกลือแร่ ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว

เพราะจะทำให้ท่านขาดเกลือแร่ได้ หรืออาจจะเตรียมโดยใช้น้ำข้าวใส่เกลือ และน้ำตาลก็ได้

  • ให้การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมากๆ

ห้ามตรากตรำทำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น

  • ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ดื่มน้ำและน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ ให้ยาแก้ปวด

Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ยาแอสไพรินยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ก็ต่อเมื่อมีภาวะ

แทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้

ได้แก่ เพนวี ขนาดผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 4 แสนยูนิต ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร

และก่อนนอน ในเด็กให้ครั้งละ 50,000 ยูนิต ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หรือ

อิริโทรไมซิน ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ในเด็ก ให้วันละ 30-50 มิลลิกรัม

ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง

  • ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

    Back to MENU

วิธีการป้องกันโรค

  • สามารถรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ที่โรงพยาบาลทั่วไป
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

และพักผ่อนให้เพียงพอ

  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่สักระยะเพื่อป้องการระบาดและแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง

  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนทานอาหาร หรือหยิบจับอาหารขึ้นมาทาน
  • ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือเมื่อจามหรือไอ ควรใช้กระดาษทิชชู่ปิดปาก

แล้วขยำทิ้งลงถังขยะ

  • ควรหยุดเรียน หยุดงาน เพื่อรักษาตัวให้หายโดยเร็ว และไม่เป็นการแพร่กระจายเชื้อไวรัสให้คนอื่น

 

Back to MENU

อ้างอิง
http://health.sanook.com/3605/
http://siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/influenza.htm

 

หน้าแรก l สืบค้นเพิ่มเติม lAbout us