-การดูแลตนเองที่สำคัญ

-การรักษาโรคลิ้นหัวใจ

-การป้องกันโรคลิ้นหัวใจ

การดูแลตนเองที่สำคัญ

อาการที่เฉพาะของโรคลิ้นหัวใจ คือ การมีเสียงเต้นของหัวใจผิดปกติ ที่เรียกว่า เสียงฟู่ (Murmur) ซึ่งเกิดจากการที่เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ จึงทำให้เกิดเสียงขึ้นนั่นเอง โดยแพทย์จะตรวจพบได้จากการใช้หูฟัง ฟังเสียงการเต้นของหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้นในระยะแรก ที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด ถ้าลิ้นหัวใจยังเสื่อมไม่มาก ผู้ป่วยอาจยังไม่มีอาการถึงแม้การเต้นของหัวใจจะมีเสียงฟู่ก็ตาม แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น ผู้ป่วยจึงจะค่อยๆมีอาการ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ

-เหนื่อยง่าย
-หายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อมีการออกแรง
-อาจมีอาการเจ็บหน้าอกได้ โดยเฉพาะเมื่อออกแรง
-บวมตามตัว โดยเฉพาะ ขา และเท้า
-หลอดเลือดที่ลำคอสองข้างโป่งพอง
-เมื่อมีอาการมากขึ้น จะมีอาการเขียวคล้ำ คือ มือ เท้า ริมฝากเขียวคล้ำ
-อาจมีหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น มึนงง วิงเวียน เป็นลมได้ง่าย
-เมื่อเป็นมากจะมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว และมักจะนอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วจะเหนื่อยมาก หายใจลำบาก ต้องนอนเอนตัวเสมอ

backกลับไปด้านบน

 

แนวทางการรักษาโรคลิ้นหัวใจ

 

การรักษาด้านการผ่าตัด มีหลายเทคนิควิธี ขึ้นกับเป็นโรคของลิ้นหัวใจตำแหน่งใด มีความรุนแรงอย่างไร มีความผิดปกติอื่นๆของหัวใจร่วมด้วยหรือไม่ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เช่น การสวนขยายลิ้นหัวใจ การใส่ลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น

 

 

การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวบวม การกินอาหารจืด ลดอาหารเค็ม เพื่อลดบวม การให้ยาลดความดันโลหิต หรือยาลดไข มันในเลือด และการให้ยาลดการแข็งตัวของเลือด เพราะโรคลิ้นหัวใจมักก่อให้เกิดมีภาวะก้อนเลือดขนาดเล็กๆที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งมักหลุดไปอุดยังหลอดเลือดต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดของปอดซึ่งเป็นอีกสาเหตุนอกเหนือจากภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ทำให้เสียชีวิตได้ และ/หรืออุดหลอดเลือดของสมอง เป็นสาเหตุให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) ได้ การให้ยาขับน้ำลด

 

backกลับไปด้านบน

 

การป้องกัน

-กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน จำกัด อาหารไขมัน แป้ง น้ำตาล เค็ม เพิ่มผักและผลไม้
-ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน
-เลิก/ไม่สูบบุหรี่
-รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
-ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี รวมทั้งสุขภาพหัวใจเพื่อ เมื่อพบโรคจะได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และเพื่อชะลอโรคไม่ให้ลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าที่ควร

backกลับไปด้านบน

บทความจาก: http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88/